3rdMay

3rdMay

3rdMay

 

April 05,2024

โคราชลงทุนสูงสุดของปี’๖๖ ๔๘ โครงการ ๒๗,๕๕๖ ล้าน ‘บุรีรัมย์’ก็ไม่น้อย ๗,๐๙๒ ล.

 

‘บีโอไอโคราช’ สรุปภาพรวมการส่งเสริมการลงทุนปี ๒๕๖๖ ของ ๘ จังหวัดอีสานล่าง รวม ๘๘ โครงการ มูลค่า ๓๗,๕๑๗ ล้านบาท “โคราช” ยังนำหน้า ๔๘ โครงการ ๒๗,๕๕๖ ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการขยายกิจการ ส่วน “บุรีรัมย์” ๗,๐๙๒ ล้าน ด้าน “สุรินทร์” ก็น่าจับตามอง ๔ โครงการ ๑,๔๓๓.๕ ล้าน ภาพรวมทั้งประเทศดีขึ้น

เมื่อไม่นานมานี้ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ ๒ (นครราชสีมา) หรือ “บีโอไอโคราช” ภายใต้การบริหารของนายอิสระ อมรกิจบำรุง ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เปิดเผยภาพรวมการส่งเสริมการลงทุนปี ๒๕๖๖ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในพื้นที่รับผิดชอบ ๘ จังหวัด (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี) โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมในพื้นที่ ๘ จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรืออีสานตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ ๒ (นครราชสีมา) มีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน ๘๘ โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๗๖ และมีมูลค่าเงินลงทุน ๓๗,๕๑๗ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๓๙ แยกเป็นจังหวัดนครราชสีมา ๔๘ โครงการ มูลค่าการลงทุน ๒๗,๕๕๖.๓ ล้านบาท, บุรีรัมย์ ๑๙ โครงการ มูลค่าการลงทุน ๗,๐๙๒.๒ ล้านบาท, ชัยภูมิ ๙ โครงการ ๓๒๑ ล้านบาท, อุบลราชธานี ๕ โครงการ มูลค่าการลงทุน ๑๒๒.๕ ล้านบาท, สุรินทร์ ๔ โครงการ มูลค่าการลงทุน ๑,๔๓๓.๕ ล้านบาท, ศรีสะเกษ ๒ โครงการ มูลค่าการลงทุน ๑๑.๔ ล้านบาท, ยโสธร ๑ โครงการ มูลค่าการลงทุน ๙๘๐ ล้านบาท ส่วนอำนาจเจริญไม่มีโครงการ

โดยการโครงการลงทุนกระจุกตัวในจังหวัดนครราชสีมา ๔๘ โครงการ ได้แก่ ๑. กิจการผลิตลูกสุกรและสุกรขุน ๒ โครงการ

๒. กิจการผลิตแป้งแปรรูป

๓ โครงการ และกิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ๑ โครงการ

๓. การติดตั้ง E-SAVER ทำหน้าที่ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ของปั๊มน้ำในระบบทำความเย็นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูป ๑ โครงการ

๔. กิจการผลิตตัวเก็บประจุไฟฟ้า เช่น Ceramic Capacitors ๑ โครงการ

๕. กิจการผลิตสายไฟ Low Smoke Zero Halogen ๑ โครงการ

๖. การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในกิจการ ได้แก่ กิจการผลิตสารให้ความหวาน ๑ โครงการ, กิจการข้าวคัดคุณภาพ ๒ โครงการ, กิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ๒ โครงการ กิจการผลิตสาคูและแป้งมันสำปะหลัง ๑ โครงการ, กิจการผลิตแป้งแปรรูป ๑ โครงการ, กิจการผลิตกากอบแห้งจากกากมันสำปะหลัง ๑ โครงการ, กิจการผลิตขนมขบเคี้ยว ๒ โครงการ, กิจการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ๑ โครงการ และกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ๑ โครงการ

๗. กิจการผลิตตัวเก็บประจุไฟฟ้าชั่วคราวที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ๑ โครงการ ๘. กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ๑ โครงการ ๙. กิจการผลิตถุงกระดาษปลอดเชื้อ ๑ โครงการ ๑๐. กิจการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมืออุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ด้านมิติ ด้านมวล และเครื่องชั่ง ๑ โครงการ ๑๑. กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ ๑ โครงการ ๑๒. กิจการผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ เช่น ที่สวมด้ามจับไม้กอล์ฟ ยางชะลอความเร็ว ๑ โครงการ ๑๓. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรม เช่น ฟันปลอมชนิดติดแน่น ฟันปลอมชนิดถอดได้ ๑ โครงการ ๑๔. กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ๑๘ โครงการ ๑๕. กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ ๑ โครงการ ๑๖.โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยการนำระบบดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) มาใช้แทนระบบดักจับฝุ่นแบบใช้ถุงกรอง (Bag Filter) เป็นกิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล ๑ โครงการ

 

ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการใหม่และโครงการขยายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๘ จังหวัดเมื่อเปรียบเทียบปี ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๖ เป็นโครงการใหม่ ๑๖ โครงการ อยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ๙ โครงการ, นครราชสีมา ๖ โครงการ และสุรินทร์ ๑ โครงการ นอกจากนี้ เป็นโครงการขยายกิจการ ๗๒ โครงการ อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ๔๑ โครงการ, บุรีรัมย์ ๑๑ โครงการ, ชัยภูมิ ๙ โครงการ, อุบลราชธานี ๕ โครงการ, สุรินทร์ ๓ โครงการ, ยโสธร ๑ โครงการ และศรีสะเกษ ๒ โครงการ

สำหรับการกระจายสัดส่วนผู้ถือหุ้นเปรียบเทียบปี ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๖ เป็นโครงการคนไทยถือหุ้นทั้งสิ้น ๖๐ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๖๘ ของจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน ๑๕,๑๒๙ ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๔๐ ของเงินลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง ส่วนโครงการต่างชาติถือหุ้นทั้งสิ้น ๑๑ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๑๓ ของจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน ๒๐,๔๒๘ ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๕๕ ของเงินลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และโครงการร่วมหุ้นไทยและต่างชาติ ๑๗ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๑๙ ของจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน ๑,๙๖๐ ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๕ ของเงินลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง

โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการพิเศษ ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพ ในปี ๒๕๖๖ มีโครงการที่อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน ๑๔ โครงการ เงินลงทุน ๕๓๗ ล้านบาท อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน ติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในกิจการ อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ๑๑ โครงการ ได้แก่ กิจการข้าวคัดคุณภาพ ๒ โครงการ, กิจการผลิตขนมขบเคี้ยว, กิจการผลิตสารให้ความหวาน, กิจการผลิตสาคูและแป้งมันสำปะหลัง, กิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง, กิจการผลิตแป้งแปรรูป, กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูป, กิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ และกิจการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลงชีวมวล, อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ กิจการผลิตยางแท่ง, อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ กิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ กิจการผลิตเครื่องเทศแปรรูป เช่น หอมเจียว กระเทียมเจียว
ส่วนมาตรการส่งเสริม SMEs ในปี ๒๕๖๖ มีโครงการที่อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน จำนวน ๔ โครงการเงินลงทุน ๓๒๑ ล้านบาท อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์, จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นกิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมดิบ เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต, จังหวัดชัยภูมิ เป็นกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป, จังหวัดสุรินทร์ เป็นกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป

เมื่อจำแนกโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เป้าหมายนั้น การอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในปี ๒๕๖๖ มีการลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย ๒๐ จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ ซึ่งจะได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคของรัฐบาล โดยในพื้นที่อีสานตอนล่างมีโครงการที่อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน จำนวน ๔๐ โครงการ เงินลงทุน ๙,๙๖๑ ล้านบาท อยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ๑๙ โครงการ เงินลงทุน ๗,๐๙๒ ล้านบาท, ชัยภูมิ ๙ โครงการ เงินลงทุน ๓๒๑ ล้านบาท, อุบลราชธานี ๕ โครงการ เงินลงทุน ๑๒๒.๕ ล้านบาท, สุรินทร์ ๔ โครงการ เงินลงทุน ๑,๔๓๓.๕ ล้านบาท, ศรีสะเกษ ๒ โครงการ เงินลงทุน ๑๑.๔ ล้านบาท และยโสธร ๑ โครงการ เงินลงทุน ๙๘๐ ล้านบาท
อนึ่ง ในปี ๒๕๖๖ ภาพรวมทั้งประเทศ มีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ๒,๓๘๓ โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๕๓ และมีมูลค่าเงินลงทุน ๗๕๐,๑๒๙ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๒๓

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๙ ฉบับที่ ๒๗๖๓ วันที่ ๑๕ เดือนมีนาคม - วันที่ ๑๔ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๗


37 4,299