29thMarch

29thMarch

29thMarch

 

December 01,2016

LRT คุ้มสุด คาดตอกเสาปี ๖๒ แก้ปัญหาการจราจรเมืองโคราช

   สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) จัดทำโครงการศึกษา “แผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา”  เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๙ โดยสรุปผลการเปรียบเทียบรูปแบบระบบขนส่งมวลชน ที่มี่ความเหมาะสมที่สุดได้ดังนี้

๑. ระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ พลังงานไฟฟ้า (BRT) สามารถจัดวิ่งในชั่วโมงเร่งด่วนได้ระยะ ๕นาที/คัน และนอกชั่วโมงเร่งด่วน ๑๐ นาที/คัน มีอายุการใช้งานตัวระบบรถ ๑๒ ปี ใช้เงินลงทุนก่อสร้าง ๗,๔๘๐ล้านบาท

๒. ระบบรถขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา แบบล้อเหล็ก (LRT ล้อเหล็ก) สามารถจัดวิ่งในชั่วโมงเร่งด่วนได้ระยะ ๑๐ นาที/คัน และนอกชั่วโมงเร่งด่วน ๑๕ นาที/คัน มีอายุการใช้งานตัวระบบรถมากกว่าคือ ๓๐ ปี ใช้เงินลงทุนก่อสร้าง ๑๙,๖๕๐ ล้านบาท

๓. ระบบรถขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา แบบล้อยาง (LRT ล้อยาง) สามารถจัดวิ่งในชั่วโมงเร่งด่วนและนอกชั่วโมงเร่งด่วน รวมไปถึงมีอายุการใช้งานตัวระบบรถเท่ากันกับแบบล้อเหล็ก แต่จะใช้เงินลงทุนก่อสร้างสูงที่สุดคือ ๒๘,๔๖๐ ล้านบาท

 

การเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าบำรุงรักษาระบบฯรายปี

๑. ระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ พลังงานไฟฟ้า (BRT) มีต้นทุนค่าใช้จ่ายรายปีสูงที่สุดคือ 950 ล้านบาท/ปี

๒.ระบบรถขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา แบบล้อเหล็ก (LRT ล้อเหล็ก) มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดคือ 800 ล้านบาท/ปี

๓.ระบบรถขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา แบบล้อยาง (LRT ล้อยาง) มีต้นทุนค่าใช้จ่าย 850 ล้านบาท/ปี

 

ระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็นแบบรถขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา แบบล้อเหล็ก (LRT ล้อเหล็ก) โดยมีทางวิ่งระดับดินเป็นส่วนใหญ่ ด้วยความคุ้มค่าในการลงทุนที่มากที่สุด มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมีค่าบำรุงรักษาต่ำที่สุด

โดยกระบวนการต่อไปจะเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านวิศวกรรมและการลงทุน ศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน (TOD) และการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) หลังจากนั้นจะสรุปผลส่งไปยังสนข. และยื่นเสนออนุมัติงบประมาณกับกระทรวงคมนาคม คาดว่าจะเริ่มตอกเข็มการก่อสร้างได้เร็วที่สุดภายในปี ๒๕๖๒

 


691 1346