28thMarch

28thMarch

28thMarch

 

January 08,2018

เตรียมลุย LRT โคราช ชงรฟม.ออกแบบ-ประมูล วิ่งบนดินแค่ ๓๒,๐๐๐ ล.

 

        หลังผลศึกษาระบบขนส่งสาธารณะเมืองโคราชสำเร็จเรียบร้อย และคนส่วนใหญ่เห็นชอบเป็น LRT ล่าสุด สนข.คาดจะเสนอให้ คจร.อนุมัติและเห็นชอบในหลักการ ช่วงไตรมาสที่ ๑/๒๕๖๑ แล้วส่งต่อให้ รฟม.ออกแบบรายละเอียด ศึกษา EIA และศึกษาการเปิดประมูลแบบ PPP โดยเป็นการวิ่งระดับดินเพราะใช้เงินลงทุนประมาณ ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท และสามารถลงทุนส่วนต่อขยายไปได้ในอนาคต

        ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นผู้จัดทำโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร.สุขสันต์ หอพิบูลสุข หัวหน้าศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมโยธา มทส. เป็นผู้จัดการโครงการฯ ด้วยงบประมาณการศึกษาจำนวน ๔๓ ล้านบาทนั้น โดยภาพรวมผลการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมกับเมืองโคราชคือ รถไฟฟ้ารางเบา หรือ LRT เพราะโคราชเป็นประตูสูอีสาน คนจํานวนมากผานโคราช LRT จึงตอบโจทยการเชื่อมตอการเดินทาง แกปญหาจราจร โดยในตางประเทศใชระบบขนสงสาธารณะ เขามาเปลี่ยน mode การเดินทาง ลดการขับรถ หันมาใชรถสาธารณะ เพราะระบบขนส่งสาธารณะพิสูจนแลววา สนับสนุนการพัฒนาเมือง การเดินทางไดสะดวก มีการคาขายมากขึ้น จายภาษีใหรัฐมากขึ้น นําเงินมาพัฒนาประเทศ เมืองสองขางทางระบบจะเจริญขึ้น ระบบรถวิ่งอยางไร ตามถนนปกติ วิ่งในทางเฉพาะ พัฒนาเปนถนนคนเดิน สองขางทางเปนรานคาจํานวนมาก ตองมีการจัดระบบจราจรที่ดี ใหรถปกติและ LRT ไมขัดกัน การทําแผนระบบขนส่งสาธารณะ จึงตองทําคูกับระบบจราจร

        ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดเวทีสัมมนาครั้งใหญ ๓ ครั้ง เขาพื้นที่รับฟงความคิดเห็น ทั้ง ๕ ทิศทาง ตะวันตก เหนือ ตะวันออก และกลางเมือง องคประกอบของแผนแมบท เสนทางของระบบ รูปแบบ คาโดยสาร การบริหารจัดการ เสนทางตองตอบโจทยการเชื่อมตอ แกปญหาจราจร พัฒนาเมือง กําหนด ๓ เสนทาง สายสีเขียว สีสมและสีมวง ชวยลดปญหาจราจร ผานโรงเรียนหลายแหง ระบบมีความปลอดภัย นักเรียนใชบริการได้ การกอสรางแบงออกเปน ๓ ระยะ ๑๐ ป ทําสวนที่สําคัญกลางเมืองกอน รูปแบบการเดินทาง ตัวรถเปน Electric Light Rail แบบไรสายไฟ เพื่อไมใหเมืองเสียทัศนียภาพ เปนแบบยกพื้นสูงเพื่อให สามารถวิ่งขณะน้ำทวมไดในระดับหนึ่ง โดยเสนทางสวนใหญอยูระดับดิน ยกเวนทางลอดทางรถไฟที่ถนนสืบสิริ สวนตัวสถานีจะถูกออกแบบตามหลัก universal design เพื่อใหทุกคนสามารถเขาถึงบริการและใชงานรวมกันได ในสวนของคาโดยสารมี ๓ ราคา ๑๕ บาท, ๒๐ บาท และ ๒๕ บาท ตามจํานวน ๓ โซนที่เดินทางผาน สวนคําถามที่วา โครงการนี้เหมาะสมที่จะลงทุนทําหรือไม่? ไดมีการจําลองวิเคราะหผลทางเศรษฐศาสตรพบวา คา NPV เปนบวก B/C Ratio มีคามากกวา ๑ และ EIRR มากกวา ๑๒ ซึ่งหมายความวา โครงการนี้มีความคุมคาในการลงทุน ซึ่งการกอสรางจะแบงออกเปน ๓ ระยะ ถาหากทุกอยางเปนไปตามแผน ป ๒๕๖๓ จะเริ่มขั้นตอนการออกแบบและกอสรางของระยะที่ ๑ เปดใหบริการในป ๒๕๖๖ และเริ่มออกแบบและกอสรางระยะที่ ๒ ตอ ซึ่งคาดวาจะสําเร็จทั้งโครงการใน ๑๐ ป การลงทุนกอสรางและวางระบบทั้งหมดจะเปนภาครัฐเปนผูดําเนินการ แลวในชวงเปดใหบริการจะเปนการรวมบริหารระหวางภาครัฐ และภาคเอกชนในทองถิ่น หรือที่เรียกวา PPP ตามที่ “โคราชคนอีสาน” เสนอข่าวอย่างต่อเนื่องมาตลอดนั้น

สนข.เตรียมชง คจร.อนุมัติ

        ล่าสุด มีรายงานข่าวจาก สนข. (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร) ระบุว่า ในช่วงไตรมาสที่ ๑ ของปี ๒๕๖๑ สนข.คาดว่าจะเสนอโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในภูมิภาค ของจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวงเงินรวม ๕๓,๖๐๐-๑๒๗,๖๐๐ ล้านบาท เพื่อให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ให้พิจารณาในเรื่องนี้ได้ โดย สนข.จะขอให้ คจร.อนุมัติหลักการ และเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินโครงการทั้ง ๒ แห่ง โดยรฟม.จะต้องเป็นผู้ออกแบบรายละเอียด ศึกษารายงานผล กระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และศึกษาการเปิดประมูลแบบรัฐเอกชนร่วมลงทุน (PPP) 

        อย่างไรก็ตาม ในส่วนของระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ มีการศึกษาเสร็จและเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ โดยผลการศึกษาชี้ว่าควรใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit System : LRT) เสนอแนวทางการลงทุน ๒ แบบ ได้แก่ โครงข่ายแบบ A ประกอบด้วย สายสีแดง สายสีน้ำเงิน และสายสีเขียว รวม ๓๕ สถานี ระยะทาง ๓๔.๙๓ กิโลเมตร วงเงินลงทุนเฉลี่ยสายละ ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท หรือรวมทั้งหมด ๙๕,๐๐๐ ล้านบาท และโครงข่ายแบบ B ระยะทางรวม ๔๑.๔๙ กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางนี้จะแตกต่างกับแบบ A เฉพาะบริเวณคูเมืองเดิมและก่อสร้างในระดับดินทั้งหมด จึงต้องมีช่องจราจรของรถไฟฟ้า และบางช่วงใช้ช่องจราจรร่วมกับรถยนต์ วงเงินลงทุนรวมทั้งหมด ๒๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยให้น้ำหนักไปที่โครงข่าย A ใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมด ๖ ปี

วิ่งบนดิน ๓๒,๐๐๐ ล้าน

        ในขณะที่การศึกษาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา ผลการศึกษาชี้ว่า จังหวัดนครราชสีมาควรใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน ซึ่งมีช่องจราจรพิเศษของตัวเองและบางช่วงจะใช้ช่องจราจรร่วมกับรถยนต์ เพราะการก่อสร้างระดับพื้นดินใช้วงเงินลงทุนไม่มากนัก จะอยู่ที่ประมาณ ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท และสามารถลงทุนส่วนต่อขยายไปได้ในอนาคต

        นอกจากนี้ ยังมีรายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม โดยการเปิดเผยของนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งระบุว่า กระทรวงคมนาคมจัดทำแผนปฏิบัติการลงทุน (Action Plan) ปี ๒๕๖๑ ของกระทรวงคมนาคมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการพัฒนาเชื่อมโยงภูมิภาค โดยโครงการภายใน Action Plan ปี ๒๕๖๑ จะมีทั้งโครงการเก่าที่ผูกพันงบประมาณต่อเนื่องตามแผน Action Plan ของปี ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ และโครงการใหม่ที่บรรจุแผน Action Plan ปี ๒๕๖๑ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานขนส่ง ที่สนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งเชื่อมต่อการเดินทางในรูปแบบต่างๆ ด้วยความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย ซึ่งเน้นหนักที่ระบบราง ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า รถไฟเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน และการเร่งปรับปรุงพัฒนาสนามบินภูมิภาคเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวที่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะสนามบินที่ก่อสร้างมานานไม่ได้รับการขยายทั้งระบบอำนวยความสะดวกภายในอาคาร

เผยแผนปฏิบัติการลงทุนปี’๖๑

        ทั้งนี้ วงเงินงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการลงทุน (Action Plan) ปี ๒๕๖๑ ของกระทรวงคมนาคมจำนวน ๒ แสนล้านบาท (ไม่รวมงบลงทุนก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ที่บางส่วนใช้เงินกู้ดำเนินการแล้ว) โดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ๑.เงินงบผูกพันภายใต้แผนปฏิบัติการลงทุน ปี ๒๕๕๙ และปี ๒๕๖๐ วงเงิน ๑ แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการลงทุนต่อเนื่องที่จะต้องทำต่อ และ ๒.งบลงทุนในโครงการใหม่ จำนวน ๘ โครงการ อีก ๑ แสนล้านบาท

        สำหรับโครงการลงทุนตามงบผูกพันเดิมภายใต้แผนปฏิบัติการลงทุน ปี ๒๕๖๑ นั้น มีทั้งโครงการที่ได้เปิดประมูลไปแล้ว, เริ่มก่อสร้างไปแล้ว, อยู่ระหว่างการรอเปิดประมูล และอยู่ระหว่างเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินโครงการ ซึ่งโครงการที่เปิดประมูลไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ก่อสร้าง อาทิ โครงการรถไฟทางคู่ ๕ เส้นทาง ได้แก่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง ๑๖๗ กิโลเมตร, ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง ๑๓๒ กิโลเมตร, ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง ๑๔๘ กิโลเมตร, ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง ๑๖๕ กิโลเมตร และช่วงหัวหินประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร ส่วนโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เช่น ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-โคราช และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี เป็นต้น

โครงการใหญ่รอประมูล

        ในขณะที่โครงการที่รอเปิดประมูล ได้แก่ ๑.โครงการรถไฟทางคู่ ๙ เส้นทาง ได้แก่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง ๑๖๗ กิโลเมตร, ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง ๓๓๙ กิโลเมตร, ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง ๗๕ กิโลเมตร, ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง ๒๘๕ กิโลเมตร, ช่วงเด่นชัยเชียงใหม่ ระยะทาง ๒๑๗ กิโลเมตร, ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง ๑๗๔ กิโลเมตร, ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง ๓๐๙ กิโลเมตร, ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง ๓๒๖ กิโลเมตร และ ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง ๓๕๕ กิโลเมตร ๒.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน ดอนเมืองสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ในพื้นที่ EEC ๓.รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ๔.โครงการขยายท่าเรือแหลมฉบัง เฟส ๓ ๕.การพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส ๒ และ ๖.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง ๒๓.๖ กิโลเมตร ๗.โครงการทางด่วนสายพระราม ๓-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก ระยะทาง ๑๙ กิโลเมตร มูลค่า ๓๑,๒๔๔ ล้านบาท ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งเป็นโครงการที่จะใช้การระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) คาดว่าจะเปิดขายกองทุนได้ในช่วงเดือนมกราคม ๒๕๖๑ ซึ่งตั้งเป้าเริ่มงานก่อสร้างปี ๒๕๖๒ ใช้เวลา ๔ ปี ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี ๒๕๖๕ เป็นต้นไป

เตรียมลงทุนใหม่อีก ๘ โครงการใหญ่

        สำหรับโครงการลงทุนใหม่ตามแผนปฏิบัติการลงทุน ปี ๒๕๖๑ มีจำนวนทั้งสิ้น ๘ โครงการ วงเงินลงทุนรวมประมาณ ๑ แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการขยายการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งไปยังภูมิภาคต่างๆ เน้นทางราง และทางอากาศ ประกอบด้วย ๑.โครงการส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข (โทลล์เวย์) ช่วงรังสิต-บางปะอิน มูลค่า ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยจะใช้รูปแบบ PPP หรือเปิดให้เอกชนร่วม รัฐรับผิดชอบค่าเวนคืน ๒.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) กรุงเทพฯ-มหาชัย มูลค่า ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ๓.โครงการขยายสนามบินกระบี่ อาคารผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานกระบี่ แห่งที่ ๓ มูลค่า ๖,๖๐๐ ล้านบาท และขอนแก่น มูลค่า ๒,๙๕๐ ล้านบาท สร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ๔.โครงการท่าเรือบกของการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) ที่บริเวณสถานีรถไฟโนนพะยอม ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ขนาดพื้นที่ประมาณ ๕๐๐-๗๐๐ ไร่ มูลค่า ๓,๐๐๐ ล้านบาท โดยจะพัฒนาเป็นท่าเรือบก และนิคมอุตสาหกรรมขนส่ง เนื่องจากอยู่ใกล้กับถนนสายหลัก หรือถนนมิตรภาพ รวมถึงจังหวัดขอนแก่น เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า มีสินค้าปริมาณมาก และอยู่ใกล้กับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีโอกาสในการดึงสินค้าส่งผ่าน เข้ามาใช้บริการได้ รวมทั้งยังสามารถรองรับสินค้าจากจังหวัดใกล้เคียงโดยรอบ เช่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สกลนคร และหนองคาย อีกด้วย ๕.โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต มูลค่า ๒.๓ หมื่นล้านบาท เบื้องต้นจะใช้รูปแบบลงทุนแบบ PPP คือเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน มอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการ โดยมีเป้าหมายให้เริ่มก่อสร้างได้ในปี ๒๕๖๑

          ๖.โครงการรถไฟฟ้าขอนแก่นรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) ขอนแก่น เส้นทางบ้านสำราญ-บ้านท่าพระ ระยะทาง ๒๖ กิโลเมตร ๑๖ สถานี มูลค่า ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท คาดเปิดประมูลเริ่มก่อสร้าง ปี ๒๕๖๑ ซึ่งในปี ๒๕๖๓ คาดว่าจะสามารถเปิดเดินรถได้ ๗.โครงการรถไฟฟ้านครราชสีมา (LRT) และ ๘.รถไฟฟ้ารางเบา (Tram) จังหวัดเชียงใหม่ มูลค่ากว่า ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท

        ทั้งนี้ หากมีความคืบหน้าและรายละเอียดอื่นๆ “โคราชคนอีสาน” จะนำเสนอต่อไป

 

 โปรดติดตามข่าวโดยละเอียดจาก  นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๒๔๗๘ วันเสาร์ที่ ๖ - วันพุธที่ ๑๐ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๑

 


696 1351