26thApril

26thApril

26thApril

 

January 13,2018

จีนเสนอ LRT เทศบาลโคราช ลงทุนกม.ละ ๗๕๐ ล้าน ‘สุรวุฒิ’คาใจจอดรถริมทาง

        เอกชนจีนลงพื้นที่พบผู้บริหารเทศบาลนครโคราชนำเสนอการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) ในเมือง อ้างทันสมัยและตอบโจทย์การแก้ปัญหาจราจรติดขัดได้ ด้วยงบประมาณ ๗๕๐ ล้านบาทต่อ ๑ กิโลเมตร แต่หากระบบนี้ไม่ตอบโจทย์ก็พร้อมศึกษาให้ตรงใจชาวโคราชมากสุด ด้าน “สุรวุฒิ เชิดชัย” ยังสงสัยว่า หากเป็น LRT ประชาชนจะจอดรถข้างทางได้หรือไม่ ทั้งที่คณะทำงานตอบในที่ประชุมฟังความคิดเห็นแล้วว่าได้

        ตามที่เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา เมื่อเวลา ๑๐.๓๐ น. นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรี พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมต้อนรับคณะผู้บริหาร บริษัท จงหยวนฉวง นิว อีเนอร์จี จำกัด บริษัท จงถาง สกายเรลเวย์ กรุ๊พ จำกัด และบริษัท บริหารสินทรัพย์ เหอจุน เหนียนหลุน (เซียะเหมิน) จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนานวัตกรรมระบบขนส่งมวลชน โดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้การสนับสนุน จากนั้นได้เปิดวิดีทัศน์แนะนำโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจำนวนประชากรกว่า ๒.๖ ล้านคน นับว่ามากที่สุดในภูมิภาค มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ๒.๖ แสนล้านบาท นับเป็นอันดับ ๑ ของภาคอีสาน และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมต่างๆ

        อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) สายบางปะอิน-นครราชสีมา, รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา, รถไฟทางคู่เส้นทางมาบกะเบา-จิระ เป็นต้น

        จากนั้น มีการร่วมประชุมหารือยุทธศาสตร์การพัฒนาทางเศรษฐกิจ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ของจีนสำหรับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างชื่นมื่น โดยคณะผู้บริหารจากบริษัทต่างๆ ได้สอบถามผ่านล่าม เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมและรายละเอียดเกี่ยวกับการขยายตัวของเมืองนครราชสีมา รวมทั้งความเป็นไปได้หากสนใจจะเข้ามาลงทุน

        นายสุรวุฒิ เชิดชัย เปิดเผยภายหลังการประชุมแล้วเสร็จว่า ขอขอบคุณกลุ่มเอกชนจากประเทศจีน ที่ให้ความสนใจและมาสำรวจพื้นที่ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา รวมทั้งได้นำเสนอการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบใหม่ ที่ได้เปิดใช้งานจริงในมณฑลเฉิงตู ประเทศจีน จึงเป็นโอกาสที่ดี ซึ่งเทศบาลนครฯ ได้นำเสนอรายละเอียดประโยชน์ความจำเป็นต่างๆ ให้นำกลับไปคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้ เพื่อให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับ Mega Project ของรัฐบาลที่ใช้โคราช ซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมอย่างเต็มรูปแบบ ที่สำคัญต้องสอบถามความต้องการของประชาชนด้วยว่าต้องการแบบไหน ซึ่งต่อจากนี้เทศบาลนครฯ และรัฐบาลจีน รวมทั้งบริษัทตัวแทน จะร่วมศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพรองรับการเจริญเติบโตอย่างเข้มแข็งของเมืองให้สมกับเป็นมหานครโคราช

        ด้านนายเอกวัสส์ กุลวงษ์สมบูรณ์ ตัวแทนบริษัทฯ จากสาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดเผยว่า เมืองโคราชเป็นชุมชนที่เจริญเติบโตทุกๆ ด้าน ทำให้มีปัญหาการจราจรตามมาคู่กัน ระบบขนส่งที่นำเสนอคือ “รถไฟระบบรางเบา” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ มีความทันสมัยสามารถตอบโจทย์แก้ไขปัญหาการเดินทางให้คล่องตัวมากขึ้น ไม่เกิดมลภาวะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เบื้องต้นมูลค่าการก่อสร้างกิโลเมตรละ ๗๕๐ ล้านบาท หากระบบขนส่งมวลชนนี้ ยังไม่ตรงต่อความต้องการ สามารถศึกษารูปแบบโดยปรับเปลี่ยนได้ในกระบวนการเพื่อให้ตรงต่อความต้องการของชาวโคราชมากที่สุด

        ล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๑ นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรี เปิดเผยกับ “โคราชคนอีสาน” ถึงเรื่องนี้ว่า จากการมาพบของบริษัทเซียะเหมินครั้งนี้ เทศบาลฯ จะสอบถามไปยังกระทรวงมหาดไทยว่าจะสามารถดำเนินการภายใต้ระเบียบใดได้บ้าง ซึ่งเป็นหลักการคร่าวๆ นอกจากนี้ เทศบาล นครฯ ยังได้นำเสนอศักยภาพด้านต่างๆ ของโคราชให้ทราบ ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ เช่น โครงการรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และมอเตอร์เวย์ ที่จะเข้ามาเชื่อมโยงการเดินทางในพื้นที่ รวมทั้งการเจริญเติบโตของเมืองโคราชในด้านต่างๆ เช่น การขยายการลงทุนของศูนย์การค้า อาทิ เดอะมอลล์, เทอร์มินอล ๒๑ โคราช และเซ็นทรัลพลาซา รวมทั้งการเข้ามาของโรงแรมขนาดใหญ่ต่างๆ ที่มาลงทุนในโคราชอย่างต่อเนื่อง

        “การเข้ามาพบคณะผู้บริหารเทศบาล นครฯ ในครั้งนี้ ไม่ได้รู้จักกับผู้บริหารเป็นการส่วนตัว แต่เขาเล็งเห็นศักยภาพของเมืองโคราช จึงขอเข้ามานำเสนอโครงการและเสนอต่อว่าจะสามารถดำเนินการในเรื่องใดได้บ้าง” นายสุรวุฒิ กล่าว

        “โคราชคนอีสาน” ถามว่า ตามที่สนข.ว่าจ้างให้มทส.ศึกษาโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา และเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือ LRT คิดว่า จะสามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้หรือไม่? นายสุรวุฒิ ตอบว่า “ในเรื่องนี้ตนไม่ทราบ เพราะหลังจากศึกษาเสร็จ และทำประชาคมแล้วนั้น ผลเป็นอย่างไร ตนยังไม่ทราบรายละเอียด”

        ต่อข้อถามที่ว่า ที่ผ่านมาไม่เห็นด้วยหรือคัดค้านที่จะทำเป็นรถไฟฟ้ารางเบาหรือ LRT ใช่หรือไม่? นายสุรวุฒิ ตอบว่า “ผมไม่ได้บอกว่า ผมคัดค้านหรือไม่คัดค้าน เพียงแต่ผมขอสอบถามว่า หากเป็นรถไฟฟ้ารางเบาและวิ่งในระดับพื้นดินนั้น จะสามารถจอดรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ริมถนนในช่วงที่ LRT ผ่านได้หรือไม่ และสอบถามว่าราคาค่าโดยสารเท่าไหร่ สถานีมีความสูง ๑ เมตร ที่จะเป็นที่จอดรถหรือป้ายจอดรถมีความสูง ๑ เมตร ใช่หรือไม่ ยืนยันว่าไม่ได้คัดค้าน แต่เป็นการสอบถามเพื่อความชัดเจน ซึ่งเรื่องนี้มีความจำเป็นที่ผมต้องสอบถามเพื่อประชาชน”

        เมื่อ “โคราชคนอีสาน” ถามว่า ในมุมมองแล้วคิดว่าระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือ LRT มีข้อเด่นหรือข้อด้อยอย่างไร นายสุรวุฒิตอบว่า “ขอเพียงให้คณะผู้ศึกษาหรือผู้ที่ทำการศึกษาตอบในสิ่งที่ตนสอบถามได้ก่อนว่า จอดรถได้หรือไม่ และสถานีจอดรถมีรายละเอียดอย่างไร จึงจะสามารถตอบโจทย์ได้ เพราะมีประชาชนถามมาก็ต้องหาคำตอบในส่วนนี้ให้ได้ก่อน ซึ่งในเรื่องนี้ยังไม่มีใครตอบตนได้ สำหรับการมาเยือนของบริษัทจีนที่มารับฟังการนำเสนอของเทศบาลนครฯ นั้น ทางจีนยังไม่สรุปว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่ทางคณะผู้บริหารได้ให้คณะลงพื้นที่ศึกษาในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมาด้วย”

        ทางด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุขสันต์ หอพิบูลสุข หัวหน้าศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ในฐานะผู้จัดการโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า จากที่สนข.ว่าจ้างให้มทส.ศึกษาระบบฯ และเห็นด้วยว่าประเทศไทยควรจะขับเคลื่อนด้วยระบบราง และจากการศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยในระบบรางคือควรจะเป็นรถไฟฟ้ารางเบา หรือ LRT ซึ่งการที่สนข.เตรียมนำเสนอต่อ คจร. เพื่อให้อนุมัติและเห็นชอบในหลักการนั้นก็จะเป็นเรื่องที่ดี และหวังว่ารัฐบาลจะเห็นชอบและอนุมัติตามที่มทส.ได้ศึกษาไว้ ซี่งการลงทุนทั้ง ๓ เฟสก็อยู่ที่ประมาณ ๓๒,๐๐๐ ล้านบาท เป็นการวิ่งระดับพื้นดิน และเห็นว่าควรดำเนินการตามระยะเวลาที่ได้มีการศึกษา เพราะหากล่าช้าก็จะไม่ส่งผลดีต่อระบบการขนส่งและการคมนาคมของโคราช เนื่องจากระบบขนส่งมวลชนนี้จะสามารถเชื่อมต่อไปยังระบบคมนาคมอื่นๆ ได้เลย ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ และมอเตอร์เวย์ ซึ่งหากล่าช้าและปล่อยให้รถไฟความเร็วสูงหรือระบบอื่นๆ เกิดขึ้นก่อน ปัญหาก็จะเกิดขึ้นเหมือนเดิม คือ ท้ายสุดระบบการจราจรและประชาชนก็จะมาติดในเมืองเหมือนเดิม เพราะไม่สามารถเชื่อมต่อไปยังที่อื่นๆ ได้สะดวก

        อนึ่ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จำนวน ๔๐ ล้านบาท เป็นผู้จัดทำโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร.สุขสันต์ หอพิบูลสุข หัวหน้าศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมโยธา มทส. เป็นผู้จัดการโครงการฯ โดยเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ ห้องประชุมลำตะคอง โรงแรมแคนทารี โคราช มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ช่วงที่ ๓ โดยนับเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งในครั้งนั้น ดร.สมพงษ ปกษาสวรรค ผูเชี่ยวชาญดานวางแผนการขนสงและจราจร นําเสนอรายละเอียดแผนแมบทจราจรและแผนแมบทระบบขนสงสาธารณะที่เหมาะสมกับเมืองนครราชสีมา โดยให้รายละเอียดของระบบ LRT ว่า เปนระบบที่ใชงานมานานแลวในตางประเทศ นํามาใชไดทั้งแยกช่องทางจราจร (lane) และใชเลนรวมกัน ขึ้นอยูกับกายภาพของถนน พร้อมทั้งเปิดวิดีทัศน์การใชงานของรถ LRT ในตางประเทศ ที่ต้องวิ่งชิดขวา รถยนตอื่นๆ สามารถจอดขางทางได รถยนตตองใหทางกับรถ LRT และหามจอดรถบริเวณสถานี LRT ซึ่งความถี่ในการวิ่งนั้นประมาณ ๑๐ นาทีตอคัน จึงควรมีระบบ LRT ดังนั้น การแกปญหาจราจรตองทํารวมกับการแกปญหาระบบขนสงสาธารณะ ประโยชนทางตรงของโครงการคือ การเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย มีการเชื่อมต่อระบบรถไฟ และบขส. ซึ่งประโยชนทางออมจะช่วยเพิ่มนักทองเที่ยว อนุรักษเมืองเกา สำหรับการบริหารจัดการเดินระบบจะเป็นความรวมมือแบบ PPP คือทองถิ่น (เทศบาล อปท.) กลุมธุรกิจทองถิ่น กลุมธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ ประชาชน โดยระบบขนสงสาธารณะจะชวยเพิ่มมูลคาที่ดิน ตามเสนทางที่ระบบผ่าน

        โดยการกอสรางแบงออกเปน ๓ ระยะ ภายใน ๑๐ ป โดยเสนทางสวนใหญอยูระดับดิน ยกเวนทางลอดทางรถไฟที่ถนนสืบสิริ สวนตัวสถานีจะถูกออกแบบตามหลัก universal design เพื่อใหทุกคนสามารถเขาถึงบริการและใชงานรวมกันได ในสวนของคาโดยสารมี ๓ ราคา ๑๕ บาท, ๒๐ บาท และ ๒๕ บาท ตามจํานวน ๓ โซนที่เดินทางผาน

 


โปรดติดตามข่าวโดยละเอียดจาก  นสพ.โคราชคนอีสาน  ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๒๔๗๙ วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ - วันจันทร์ที่ ๑๕ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๑


694 1344