28thMarch

28thMarch

28thMarch

 

July 27,2018

‘บิ๊กตู่’ห่วงราษฎรไร้ที่ทำกิน สั่งเร่งรัดพัฒนาอาชีพ ครม.สัญจรอุบลฯฉลุย

          “ครม.สัญจรอุบลฯ” ฉลุย “บิ๊กตู่” รับข้อเสนอไปจัดการตามลำดับความสำคัญ พร้อมย้ำให้ทุกกระทรวงและจังหวัดเร่งรัดพัฒนาอาชีพให้ประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกิน และสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดระบบการผลิตที่ครบวงจร สำหรับสินค้าเกษตรคุณภาพ ทั้งด้านการตลาดและระบบโลจิสติกส์   

          ตามที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๑ โดยเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๔๐ น. ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒ ซึ่งประกอบด้วย อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ โดยมีคณะรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนภาคเอกชน ผู้แทนภาคการเกษตรกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒ เข้าร่วมประชุมนั้น โดยต่อมามีการสรุปผลการประชุม ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้ ๑.รับทราบผลการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒ (อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ) เมื่อวันอังคารที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๑ และ ๒.เห็นชอบตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ รวมทั้งรายงานผลการดำเนินการให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป โดยมีสาระสำคัญและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี แยกออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้ 

          ๑.การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ประกอบด้วย โครงข่ายคมนาคมทางถนน จำนวน ๑๒ สายทาง ได้แก่ ๑) เร่งรัดปรับปรุงทางหลวงหมายเลข ๒๑๖๙ ตอนยโสธร–เลิงนกทา โดยขอขยายเป็น ๔ ช่องจราจร ๒) เร่งรัดปรับปรุงถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานีฝั่งตะวันออก ทางหลวงหมายเลข ๒๓๑ โดยขอขยายเป็น ๔ ช่องจราจร ๓) เร่งรัดปรับปรุงทางหลวงหมายเลข ๒๑๗๘ วารินชำราบ–กันทรลักษ์ ๔) เร่งรัดการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจรทางหลวงหมายเลข ๒๒๐ ตอนวังหิน-ขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ๕) เร่งรัดดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหมายเลข ๒๐๕๐ อุบลราชธานี–ตระการพืชผล โดยขอทำเป็นเกาะกลางถนนตลอดสาย ๖) เร่งรัดปรับปรุงทางหลวงหมายเลข ๒๐๘๓+๒๓๕๑ (มหา ชนะชัย–ค้อวัง–ยางชุมน้อย) เป็น ๔ ช่องจราจร ๗) เร่งรัดปรับปรุงทางหลวงหมายเลข ๒๐๒ ตอนสะพานคลองลำเซ–ปทุมราชวงศา ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร และก่อสร้างทางหลวงหมายเลข ๒๐๒ ตอนยโสธร–อำนาจเจริญ ระยะทาง ๓๑.๙๒๕ กิโลเมตร โดยขยายเป็น ๔ ช่องจราจร ๘) เร่งรัดปรับปรุงทางหลวงหมายเลข ๒๙๒ ตอนทางเลี่ยงเมืองยโสธรเป็น ๔ ช่องจราจร ๙) เร่งรัดก่อสร้างถนนวงแหวนด้านทิศเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร ๑๐) เร่งรัดศึกษาความเหมาะสมของการขยายผิวจราจร สาย อจ.๓๐๒๒ แยก ทล.๒๑๒–บ้านพุทธอุทยาน อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ระยะทาง ๔.๒๒ กิโลเมตร ๑๑) เร่งรัดการศึกษาออกแบบโครงการก่อสร้างสะพานพัฒนามิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ ๖ ที่ อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี และ ๑๒) เร่งรัดศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างถนนเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราช ธานีโดยเชื่อมทางหลวงหมายเลข ๒๓๑  ผ่านกองบิน ๒๑ มาบรรจบถนนเข้าสนามบินนานาชาติอุบลราชธานี ระยะทาง ๒.๕๑๘ กิโลเมตร

          ส่วนโครงข่ายคมนาคมทางอากาศ ๑) เร่งรัดดำเนินการขยายอาคารสนามบินนานา ชาติอุบลราชธานีให้เร็วขึ้นจากแผนที่กำหนดไว้เดิมเมื่อปี ๒๕๖๕ และ ๒) เร่งรัดศึกษาสนามบินมุกดาหารเพื่อนำผลการศึกษามาพิจารณาประกอบข้อเสนอที่ขอให้พิจารณาความเป็นไปได้เพิ่มเติมในส่วนของสนามบินเลิงนกทาเป็นสนามบินพาณิชย์ ส่วนโครงข่ายคมนาคมทางราง โดย ๑) เร่งรัดศึกษาโครงการรถไฟทางคู่ วารินชำราบ–ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี และ ๒) เร่งรัดศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการรถไฟจากสถานีวารินชำราบ–อำนาจ เจริญ–เลิงนกทา เชื่อมโครงการรถไฟทางคู่ “บ้านไผ่–มุกดาหาร–นครพนม”

          โดยในเรื่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ คณะรัฐมนตรีรับทราบและให้กระทรวงคมนาคมรับข้อเสนอไปพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นเร่งด่วนตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ การดำเนินโครงการด้านคมนาคมทางถนนให้คำนึงถึงการใช้ผิวถนนสำหรับการจราจรให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้ประชา สัมพันธ์โครงการที่รัฐบาลดำเนินการให้ประชาชนได้รับทราบเป็นระยะด้วย

          ๒.ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและแก้ไขปัญหาอุทกภัย มีการขอรับการสนับสนุน ดังนี้ ๑) การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน ๔๐ โครงการ แยกเป็น แก้มลิง ๒๕ โครงการ อาคารบังคับน้ำ ๘ โครงการ ฝาย ๓ โครงการ สูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์ ๓ โครงการ ระบบส่งน้ำ/กระจายน้ำ ๑ โครงการ ๒) การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย จำนวน ๕ โครงการ แยกเป็นประตูระบายน้ำ ๔ โครงการ ระบบการระบายน้ำและบริหารจัดการน้ำ ๑ โครงการ และ ๓) ขอให้ศึกษาความเหมาะสม จำนวน ๕ โครงการ ได้แก่ โครงการศึกษาความเหมาะสมทางผันน้ำฝั่งขวาลำน้ำมูลเพื่อบรรเทาอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี, โครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัยลำน้ำยังและลำน้ำชีตอนล่าง (พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และยโสธร), โครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัยและเพิ่มพื้นที่ชลประทานลำเซบาย, โครงการศึกษาความเหมาะสมการบรรเทาอุทกภัยและเพิ่มพื้นที่ชลประทานลำเซบก และโครงการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมืองยโสธร

          โดยในประเด็นนี้มีข้อสั่งการ ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอไปพิจารณาเร่งรัดดำเนินการ โดยให้คำนึงถึงความคุ้มค่าและสอดคล้องกับแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐบาล รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนก่อนเริ่มดำเนินการ รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงกลาโหมรับไปศึกษาและสนับสนุนการสำรวจเส้นทางน้ำเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้ หากมีความพร้อมและความจำเป็นเร่งด่วนให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานสำนักงบประมาณพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ มาดำเนินการในโอกาสแรก

          ๓.ด้านการยกระดับด้านการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร มีการขอรับการสนับสนุนต่างๆ ประกอบด้วย ๑) โครงการก่อสร้างโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) ด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยขอเสนอโครงการสร้างพื้นที่สำหรับพัฒนาเกษตรกรและบ่มเพาะผู้ประกอบการ Startups และ SMEs อย่างครบวงจรเพิ่มเติม โดยเชื่อมโยงกับโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (Science Park) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการดำเนินงานอยู่แล้วในพื้นที่  ๒) โครงการยกระดับกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒ ให้เป็นกลุ่มคลัสเตอร์ต้นแบบด้านเกษตรอินทรีย์ โดยขอรับการสนับสนุนนโยบายและบูรณาการการทำงานของส่วนงานราชการในพื้นที่และส่วนกลางเพื่อขับเคลื่อนประเด็นด้านเกษตรอินทรีย์ และ ๓) ขอให้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจรในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒ โดยประกาศให้เป็นพื้นที่ Bio Hub ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม 

          สำหรับในเรื่องนี้ มีข้อสั่งการดังนี้ ๑.ให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน ภาคเอกชน  สถาบันการศึกษาในพื้นที่  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาโครงการก่อสร้างโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant)  ด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยขอเสนอโครงการสร้างพื้นที่สำหรับพัฒนาเกษตรกรและบ่มเพาะผู้ประกอบการ Startups และ SMEs  อย่างครบวงจรเพิ่มเติม ทั้งนี้ หากโครงการมีความจำเป็นเร่งด่วนให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓ ตามขั้นตอนต่อไป ๒.ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒ ให้เป็นกลุ่มคลัสเตอร์ต้นแบบด้านเกษตรอินทรีย์ โดยให้มีการศึกษาและกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสม ๓.ให้กระทรวงอุตสาห กรรมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจรในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๒ เพื่อยกระดับเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษคลัสเตอร์อุตสาหกรรมชีวภาพ  (Bio Hub) ตามนโยบายรัฐบาล 

          ๔. ด้านคุณภาพชีวิต ขอรับการสนับสนุน ดังนี้ ๑) โครงการเพิ่มศักยภาพให้บริการของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ๒) ศูนย์การแพทย์แผนไทย–พนา เป็นศูนย์การแพทย์ครบวงจร และ ๓) ครุภัณฑ์ในการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม โดยจัดบริการห้องผ่าตัดสำหรับแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก ตา ระบบทางเดินปัสสาวะและศัลยกรรมทั่วไป ที่ประชุมครม.มีข้อสั่งการให้กระทรวงสาธารณสุขรับข้อเสนอไปพิจารณาความเหมาะสมและจัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วน โดยให้คำนึงถึงการใช้ประโยชน์สถานพยาบาลที่มีอยู่ในพื้นที่ให้คุ้มค่าและความจำเป็นในการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชา ชนก่อนให้การสนับสนุนตามขั้นตอนต่อไป 

          ๕. ด้านการท่องเที่ยว ขอรับการสนับสนุน ดังนี้ ๑) โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเส้นทางท่องเที่ยวและเชื่อมโยงการค้าชายแดน ทางหลวงหมายเลข ๒๑๗ วารินชำราบ-ช่องเม็ก โดยขอทำเป็นเกาะกลางถนนตลอดสาย ๒) โครงการเพิ่มศักยภาพการเดินทางบนทางหลวงสายหลักเขาพระวิหาร ทางหลวงหมายเลข ๒๒๑ ตอนศรีสะเกษ–ภูเงิน-กันทร ลักษ์-เขาพระวิหาร ระยะทาง ๕๐ กิโลเมตร โดยขยายเป็น ๔ ช่องจราจรตลอดสาย ๓) พัฒนาเส้นทางคมนาคมเพื่อการท่องเที่ยวริมแม่น้ำโขงและการค้าชายแดนเส้นทาง ๒๑๑๒ +๒๒๒๒ เขมราฐ–โขงเจียม–พิบูลมังสาหาร โดยขยายความกว้างของถนนและไหล่ทางเส้นทางจราจรตลอดสาย ๔) ขอรับสนับสนุนกลไกการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชายแดนช่องเม็กให้เป็นเมืองศูนย์การค้าชายแดน ๕) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิมานพญาแถน จ.ยโสธร โดยย้ายเรือนจำเพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ และ ๖) การศึกษาและออกแบบอ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน จังหวัดอำนาจเจริญ 

          ในประเด็นนี้มีที่ประชุมครม.รับทราบและให้กระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณา ดังนี้ ๑) โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคม เส้นทางท่องเที่ยวและเชื่อมโยงการค้าชายแดน ทางหลวงหมายเลข ๒๑๗ วารินชำราบ–ช่องเม็ก โดยขอทำเป็นเกาะกลางถนนตลอดสาย ๒) โครงการเพิ่มศักยภาพการเดินทางบนทางหลวงสายหลักเขาพระวิหาร ทางหลวงหมายเลข ๒๒๑ ตอน ศรีสะเกษ–ภูเงิน-กันทรลักษ์–เขาพระวิหาร ระยะทาง ๕๐ กม. โดยขยายเป็น ๔ ช่องจราจรตลอดสาย และ ๓) พัฒนาเส้นทางคมนาคมเพื่อการท่องเที่ยวริมแม่น้ำโขงและการค้าชายแดนเส้นทาง ๒๒๑๒ +๒๒๒๒ เขมราฐ–โขงเจียม–พิบูลมังสาหาร โดยขยายความกว้างของถนนและไหล่ทางเส้นทางจราจรตลอดสาย ตามขั้นตอนต่อไป 

          นอกจากนี้ ยังให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับไปพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชายแดนช่องเม็กให้เป็นเมืองศูนย์การค้าชายแดนและรายงานผลการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ รวมทั้งให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับไปพิจารณาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิมานพญาแถน จังหวัดยโสธร โดยย้ายเรือนจำเพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ตามที่เสนอ ทั้งนี้  การดำเนินงานต้องมีแผนและกลไกการบริหารจัดการท่องเที่ยววิมานพญาแถนรองรับเพื่อไม่ให้เป็นภาระของภาครัฐในอนาคต  รวมทั้งต้องมีแผนและมาตรการรองรับผลกระทบด้านสังคมที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนบริเวณใกล้เคียงในอนาคตด้วย และให้กระทรวงมหาดไทยประสานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับไปพิจารณาในรายละเอียดถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการขอรับการสนับสนุนให้มีการศึกษาและออกแบบอ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน จังหวัดอำนาจเจริญ ตามขั้นตอนต่อไป 

          อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังมีข้อสั่งการเพิ่มเติมอีกว่า ให้ทุกกระทรวงและจังหวัดไปเร่งรัดดำเนินการพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกิน และสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดระบบการผลิตที่ครบวงจร สำหรับสินค้าเกษตรคุณภาพ ทั้งด้านการตลาดและระบบโลจิสติกส์

 

นสพ.โคราชคนอีสาน  ปีที่ ๔๔ ฉบับที่ ๒๕๑๗ วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ - วันอังคารที่ ๓๑ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ 


698 1344