18thApril

18thApril

18thApril

 

June 10,2019

ม.หอการค้า’ชี้ธุรกิจชุมชนไทย ขาดเทคโนโลยีนวัตกรรมขั้นสูง เอสเอ็มอีแบงก์ดัน ๓๐,๐๐๐ ล.

         ม.หอการค้าไทย เผยผลสำรวจสถานภาพธุรกิจชุมชน ชี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ทว่า ส่วนใหญ่ยังขาดเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง  ด้าน ‘เอสเอ็มอีแบงก์’ ประกาศเติมเต็มเดินหน้ายกระดับธุรกิจชุมชน มอบความรู้ครบวงจร คู่พาเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท 

         วิชาการและงานวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผย “ผลการสำรวจสถานภาพธุรกิจชุมชน” จาก ๗๙๕ ตัวอย่างว่า  ส่วนใหญ่ ๕๖.๑๒% ยังดำเนินการโดยใช้แรงงานเป็นหลัก ตามด้วย ๓๕.๕๙% ใช้แรงงานร่วมกับเครื่องจักรขนาดเล็กมีเพียง ๐.๑๓% เท่านั้นที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง ขณะที่ ๔๖.๗๐% มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การจัดส่งสินค้า รับคำสั่งซื้อ จัดหาวัตถุดิบ รับชำระเงิน เป็นต้น และ ๕๓.๓๐% ไม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ให้เหตุผลว่า ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จำเป็น ไม่มีเงินทุนเพียงพอ ธุรกิจขนาดเล็กไม่มีความจำเป็น เป็นต้น

         ทั้งนี้ ธุรกิจชุมชนส่วนใหญ่ ๖๓.๑๔% ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ และ ๘๗.๖๐% ใช้แรงงานในพื้นที่  จึงเป็นการสร้างประโยชน์แก่ชุมชนท้องถิ่นในระดับมาก เฉลี่ยถึง ๓.๗๒% จากเต็ม ๕% ทั้งก่อให้เกิดการจ้างงาน การใช้วัตถุดิบ สร้างรายได้ และการออม เป็นต้น  ส่วนสถานภาพของธุรกิจชุมชนในปัจจุบันเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่บอกว่า ใกล้เคียงเดิม เช่น ด้านยอดขาย กำไร จำนวนลูกค้า เป็นต้น  ส่วน ๖ เดือนข้างหน้า เชื่อยอดขายยังอยู่ใน ระดับเดิม  ส่วนต้นทุน และกำไรจะดีขึ้น 

         เมื่อสำรวจการจัดทำบัญชีของธุรกิจชุมชน พบว่า มีการทำเป็นกิจจะลักษณะ ๔๕.๕๙%ที่เหลือ ๕๔.๔๑% ทำบ้างไม่เป็นกิจจะลักษณะ โดย ๔๕.๒๑% ทำบัญชีแบบง่ายๆ ๓๕.๕% จดแค่รายรับรายจ่ายและเงินเหลือในแต่ละวัน และ ๑๙.๒๘% เป็นบัญชีมาตรฐาน เมื่อเจาะลึกจะพบว่า กลุ่มธุรกิจชุมชนที่มีการทำบัญชีเป็นกิจจะลักษณะโดดเด่น คือ ร้านธงฟ้าประชารัฐ  ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าถึงมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ 

         ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างธุรกิจชุมชน ๑๖.๙% บอกว่า มีภาระหนี้สิน วงเงินเฉลี่ย ๑,๐๕๕,๙๒๙.๑๓ บาท อัตราผ่อนชำระ ๑๔,๘๘๔.๓๕ บาทต่อเดือน  ซึ่ง ๗๙.๓๒% บอกว่า ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้  ส่วนความต้องการเข้าถึงแหล่งทุน ๕๒.๙๓% เชื่อว่า ตัวเองมีศักยภาพเข้าถึงได้มาก และภายใน ๑ ปีนับจากนี้ จำนวน ๕๐.๙% ต้องการสินเชื่อ โดยวัตถุประสงค์หลัก ๓ อันดับแรก ได้แก่ พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์  พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต และปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐาน โดยวงเงินที่ต้องการส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐-๕๐๐,๐๐๐ บาท 

         กลุ่มธุรกิจชุมชนยังได้สะท้อนปัญหา และอุปสรรค ที่ต้องการได้รับการปรับปรุง ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ เงินทุนขยายกิจการ การยกเว้นภาษี เงินทุนการผลิต สร้างเสริมโอกาสและความสามารถในการแข่งขัน ปริมาณวัตถุดิบ คุณภาพวัตถุดิบ ระบบขนส่งสินค้า คู่แข่งขนาดใหญ่ในประเทศ และสภาพคล่องทางการเงิน 

         ส่วนการได้รับประโยชน์และเข้าถึงมาตรการสนับสนุนของภาครัฐนั้น ส่วนใหญ่บอกว่า ไม่ทราบถึงมาตรการต่างๆ แต่เมื่อเข้าถึงแล้ว ช่วยสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างมาก โดยสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างต้องการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ  เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ความรู้ส่งเสริมนวัตกรรมทันสมัย ลดหย่อนภาษีและปรับลดความซับซ้อน ปรับลดกฎข้อบังคับความยุ่งยากด้านการจ้างงาน เป็นต้น  ส่วนข้อเสนอแนะและสิ่งที่ต้องการได้รับจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank คือ ความง่ายในขั้นตอนขอและเข้าถึงสินเชื่อ พนักงานบริการอย่างเต็มใจ รวดเร็ว อบรมให้ความรู้ด้านบัญชี หรือการขอสินเชื่อ และสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรการทางการเงินให้กิจการ 

         ผศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวเสริมถึงการสำรวจดัชนีเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Index) ประจำเดือนเมษายน ๒๕๖๒ ว่า ปัจจัยที่มีผล กระทบต่อดัชนีเศรษฐกิจชุมชน ด้านบวก เช่นการใช้จ่ายช่วงเทศกาลสงกรานต์ มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ ราคาสินค้าเกษตรบางตัวปรับตัวดีขึ้น ส่วนปัจจัยด้านลบ เช่น รายได้ของเกษตรกรในเดือนเมษายน ๒๕๖๒ ลดลง เพราะผลผลิตปรับลดจากสถานการณ์ภัยแล้ง กำลังซื้อประชาชนชะลอตัว ราคาน้ำมันปรับขึ้น การส่งออกลดลงจากปัญหาสงครามการค้า และจำนวนนัก ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น

         ทั้งนี้ ดัชนีเศรษฐกิจชุมชน ประจำเดือนเม.ย.๖๒ อยู่ที่ ๔๘.๓ ลดลง  ๒ จุด เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ๒๕๖๒ โดยสิ่งที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ พัฒนาสินค้าชุมชน เพื่อให้มีช่องทางการตลาดมากขึ้นลดราคาต้นทุนวัตถุดิบ เพิ่มเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ กระตุ้นใช้จ่ายในประเทศ ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ลดการเก็บภาษีซ้ำซ้อน และแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน  

         ส่วนข้อเสนอแนะที่ต้องการได้รับจาก SME  D Bank ในการพัฒนาธุรกิจชุมชน ได้แก่ ลดขั้นตอนหรือผ่อนปรนเงื่อนไขเพื่อเข้าถึงแหล่งทุนง่ายขึ้นแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องมากขึ้น ให้ความรู้ ทักษะการประกอบธุรกิจชุมชน ให้คำแนะนำด้านการเงิน พัฒนาศักยภาพธุรกิจ รวมถึงส่งเสริมช่องทางตลาด

         ด้านนายวรมิตร ครุฑโต รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า จากการสำรวจดังกล่าว บ่งบอกได้ดีว่า ธุรกิจชุมชนมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างยิ่ง เพราะส่วนใหญ่ใช้แรงงานและวัตถุดิบในท้องถิ่น ทั้งนี้ หากธุรกิจชุมชนมีการยกระดับ และเข้าถึงมาตรการสนับสนุนภาครัฐ จะช่วยให้เพิ่มมูลค่าและมีศักยภาพธุรกิจแข็งแกร่งขึ้น ต่อยอดสู่กระจายการเติบโตของเศรษฐกิจฐานรากอย่างกว้างขวาง ดังนั้น SME D Bank จึงมุ่งตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในบทบาทสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเพื่อยกระดับธุรกิจชุมชน ด้วยการเติมความรู้คู่เงินทุนต่อเนื่อง  เช่น อบรมความรู้การทำบัญชีให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น จัดอบรมพัฒนาบรรจุภัณฑ์  ส่งเสริมปรับปรุงบ้านพักเป็นบูติกโฮเทลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เสริมแกร่งปรับปรุงโชห่วย ขยายช่องทางตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Thailandpostmart.com ซึ่งเน้นนำสินค้าชุมชนมาขายผ่านออนไลน์ รวมถึง จัดงานแสดงสินค้าชุมชนเป็นประจำทุกเดือน ณ สำนักงานใหญ่ SME D Bank ในชื่อ “ตลาดสุดยอด SMEs ของดีทั่วไทย” เพื่อเป็นช่องทางขายสินค้าให้แก่ธุรกิจชุมชน ปีนี้จัดมาแล้ว ๕ ครั้ง มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วกว่า ๑๕๐ ราย สร้างรายได้กว่า ๑.๖ ล้านบาท เป็นต้น 

         ตามด้วยเติมทุนให้ธุรกิจชุมชนในกลุ่มต่างๆ  เช่น เกษตรแปรรูป ท่องเที่ยวชุมชน และโชห่วย เป็นต้น นำไปลงทุน ขยาย ยกระดับธุรกิจ  ผ่าน “สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน” (Local Economy Loan) คิดดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนนานถึงสูงสุด ๗ ปี บุคคลธรรมดา ๓ ปีแรกเพียง ๐.๔๒% ต่อเดือน ปีที่ ๔-๗ อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี และนิติบุคคล อัตราดอกเบี้ย ๓ ปีแรกเพียง ๐.๒๕% ต่อเดือน ปีที่ ๔-๗ อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี ตั้งเป้าปีนี้ (๒๕๖๒) จะอนุมัติได้ถึง ๓๐,๐๐๐ ล้านบาทผลักดันธุรกิจชุมชนเข้าถึงแหล่งทุนกว่า ๓๐,๐๐๐ ราย เกิดการเชื่อมโยงกับธุรกิจชุมชนกับธุรกิจภายนอก เช่น ท่องเที่ยว ขนส่ง สินค้าที่ระลึก ฯลฯ ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า ๑๔๕,๕๐๐ ล้านบาท โดยผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ง่ายและสะดวก ทุกที่  ทุกเวลา ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง  ผ่านแอปพลิเคชัน SME D Bank 

 

 ปีที่ ๔๔ ฉบับที่ ๒๕๗๖ วันพฤหัสบดีที่ ๖ - วันจันทร์ที่ ๑๐ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๒

 

 

 


694 1344