13thFebruary

13thFebruary

13thFebruary

 

July 30,2021

ขี้หมากเปียก/ หมากเปียก

“พืช” มีหลายชนิดทั้งประเภทพืชผักที่ใช้เป็นอาหาร เป็นสมุนไพร และใช้สอยประโยชน์ต่างๆ บางชนิด นักพฤกษศาสตร์พบมากที่จังหวัดนครราชสีมา และตั้งชื่อตามภาษาถิ่นโคราช ซึ่งเรียกชื่อ แตกต่างไปจากภาษากรุงเทพและภาษาถิ่นภาคอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะทราบถึงคุณประโยชน์แล้ว ยังจะได้ทราบคำภาษาถิ่นโคราชอีกด้วย 

_________________________

ขี้หมากเปียก/ หมากเปียก

ขี้หมากเปียก [ขี่-หมาก-เปียก] หรือ หมากเปียก เป็นไม้ต้นผลัดใบชนิด Anogeissus acuminata Wall. var. Ianceolata Clarke ในวงศ์ Combretaceae ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ สูงประมาณ ๒๕ เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาลแกมเทา ใบมีขนเป็นใบเดี่ยวปลายใบแหลมเป็นรูปหอก ดอกเล็กๆ สีเหลืองออกตามง่ามใบ ผลมีขนาดเล็ก ค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยม มี ๑ เมล็ด

เนื้อไม้ขี้หมาเปียก ใช้ทำเครื่องเรือน  เช่น พื้น กระดาน ฝา คานเกวียน โครงเรือ เสากระโดงเรือ เสาโป๊ะ ด้ามเครื่องมือทางเกษตร
นักพฤกษศาสตร์เรียก ขี้หมากเปียก ว่า ตะเคียนหนู เอ็นมอญ

 

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน มูลนิธิชัยพัฒนา สืบค้นจาก ตะเคียนหนู https://www.teaoilcenter.org.

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๒๖๘๙ วันพุธที่ ๒๘ กรกฎาคม - วันอังคารที่ ๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔


752 1,642