5thDecember

5thDecember

5thDecember

 

April 30,2022

เปิดตัว “Vallaris Map” แพลตฟอร์มฝีมือคนไทย บริหารจัดการข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สะดวก รวดเร็ว เข้าใจง่าย

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โดย รศ.ดร.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย นายมรุพงศ์ โฉมเฉลา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนวัตกรรมเชิงพื้นที่ บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด รวมทั้ง ผศ.ดร.พิพัธน์ เรืองแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. และ นายประสงค์ ทีปเพิ่มพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบิทช์ จำกัด พร้อมคณะทำงาน ร่วมกันเปิดตัว Vallaris Maps Platfrom เครื่องมือสำหรับบริหารจัดการข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ซึ่ง อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. ร่วมกับบริษัท ไอบิทซ์ จำกัด และคณะนักวิจัย ร่วมกันผลิตและคิดค้นขึ้นกระทั่งประสบผลสำเร็จและสามารถเข้าใช้งานด้านแผนที่ผ่านระบบดังกล่าวได้แล้วเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ท่ามกลางความสนใจจากนักวิชาการด้านภูมิศาสตร์, นวัตกรรมงานด้านบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าร่วมรับอย่างพร้อมเพรียง ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ อย่างเข้มงวด เมื่อเวลา ๑๑.๐๐ น. วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๕ ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.ดร.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ผศ.ดร.พิพัธน์ เรืองแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข.

 

นายมรุพงศ์ โฉมเฉลา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนวัตกรรมเชิงพื้นที่ บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด

รศ.ดร.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มข. กล่าวว่า ความสำคัญและการขับเคลื่อนหน่วยงานด้านข้อมูลภูมิศาสตร์ จากผลงานวิจัยและพัฒนาร่วมระหว่างทีงานนักวิจัยของ มข. กับบริษัทในกลุ่มสตาร์อัพ เป็นผลงานสำคัญที่เป็นฝีมือคนไทยในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ที่สามารถตรวจสอบข้อมูลและค้นหาข้อมูลได้เพียงแค่ปลายนิ้ว ไม่ด้อยไปกว่าเวปไซค์ หรือแอปพลิเคชั่น หรือแพลตฟอร์มชื่อดังระดับโลก ขณะนี้ Vallaris ซึ่งเปิดให้ใช้งานได้ผ่านทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊กเพจ และระบบที่คณะทำงานได้จัดทำขึ้นน้ั้น สามารถเข้าทำการตรวจสอบสภาพปริมาณน้ำ, สภาพฝุ่นละออง โดยเฉพาะ PM.2.5, สภาพอากาศทุกภูมิภาคของไทย รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ที่ขณะนี้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนและสถานบริการต่างๆ เริ่มเข้ามาต่อยอดการใช้บริการของวาลาริส  อย่างต่อเนื่องแล้ว

“ยอมรับว่า ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ มีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก และมีมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทั้งในเรื่องของการรับมือต่อการแพร่ขยายของโรคระบาด, การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน, การบุกรุกทำลาย, การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่สามารถจะทำให้แปลหรือสื่อความหมาย และนำไปใช้งานได้อย่างและแก้ไขสถานการณ์ได้ทันที โดยเฉพาะกับสถานการณ์น้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ที่วาลาริสได้เป็นฐานข้อมูลให้กับหลายหน่วยงานในการติดตามสถานการณ์ โดยเฉพาะกับผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งวาลาริสเป็นเว็บไซต์ที่ประชาชนใช้ในการเกาะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างแพร่หลาย”

มรุพงศ์ โฉมเฉลา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเชิงพื้นที่ บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้วาลาริสสามารถเข้าใช้งานได้แล้ว ผ่านเว็บไซต์ https:vallarismaps.com หรือผ่านทางเฟซบุ๊ก Vallaris Maps Platform ในการตรวจสอบสภาพทางภูมิศาสตร์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน เพียงแค่ปลายนิ้วก็สามารถที่จะเข้าถึงการให้บริการด้านแผนที่ การให้บริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งการตรวจสอบรถโดยสารสาธารณะ ตรวจสอบสภาพฝุ่นละออง ภาพรวมทั้งประเทศหรือเฉพาะเจาะจงไปในพื้นที่ที่ต้องการ รวมไปถึงข้อมูลด้านพื้นที่ที่จะแสดงผลบนแผนที่ที่ครบถ้วน ครอบคลุมรอบด้าน ซึ่งจากการเปิดระบบให้ผู้ที่สนใจได้ใช้บริการพบว่าเป็นการใช้งานที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการค้นหาข้อมูล อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะทำงานได้ประสานงานร่วมกับ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. ในการต่อยอดระบบ เพื่อนำวาลาริสไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งต่อยอดกับภาคเอกชน ในการเข้ามาปักหมุด หรือให้บริการในประเภทต่างๆ เพื่อให้วาลาริสครบจบในที่เดียว ทุกคนสามารถค้นหาข้อมูล ค้นหาสิ่งอำนวยความสะดวก ค้นหาสถานที่ ด้วยฝีมือคนไทยที่ไม่ด้อยไปกว่าแพลตฟอร์มของต่างชาติที่ทุกคนใช้งานอยู่ในขณะนี้

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๗ ฉบับที่ ๒๗๒๓ วันพุธที่ ๒๗ เดือนเมษายน - วันอังคารที่ ๓ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕


87 1,790