20thApril

20thApril

20thApril

 

May 20,2022

ส่งเสริมการเรียนรู้นักท่องเที่ยว “ชุมชนท่องเที่ยวบ้านเจริญสุข” กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ นายศักดิ์กรินทร์ คูณประโคน นายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม โครงการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยผ่านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวได้ลงมือปฏิบัติกับชุมชน Decentralized Hand –On Program Exhibition (D-HOPE) โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนเฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดบุรีรัมย์ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างกระบวนการบริหารจัดการชุมชนในการพึ่งพาตนเอง ตามศักยภาพและบริบทของชุมชน รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้และรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน อีกทั้งรองรับการบริการนักท่องเที่ยวได้ และมีรูปแบบการประชาสัมพันธ์ ผู้ประกอบการชุมชนและชุมชนท่องเที่ยวเป้าหมายให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไป โดยมี นายวิวัฒน์ อยู่แย้ม พัฒนาการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ นายบดินทร์ เรืองสุขศรีวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ นางกัญญารัตน์ ท่วมไธสง ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ นายศิวฤทธิ์ ศรีบุญเรือง ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย ผู้แทนหน่วยราชการ ภาคเอกชนสื่อมวลชน และนักท่องเที่ยว เข้าร่วมกิจกรรม

“ชุมชนท่องเที่ยวบ้านเจริญสุข” อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้าน OVC (OTOP Village Champion) ตั้งอยู่บนพื้นที่ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว และยังเป็นพื้นที่ตั้งของภูเขาไฟอังคาร ทำให้ที่นี่มีกิจกรรมโดดเด่นที่เกิดจากการนำทรัพยากรที่มีอยู่ มาต่อยอดให้เป็นกิจกรรมในชุมชนและสินค้าในชุมชนที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้ นั่นคือการนำดินภูเขาไฟมาทำเป็นสีย้อมเส้นฝ้าย ผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมจนกลายเป็นสินค้าเลื่องชื่อคือ “ผ้าภูอัคนี” 

การจัดกิจกรรม “ส่งเสริมการเรียนรู้นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ” ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โปรแกรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ้านเจริญสุข ในรูปแบบของ Catalog ประกอบด้วย ๑๐ โปรแกรมฐานเรียนรู้ ซึ่งแต่ละโปรแกรมจะมีผู้เชี่ยวชาญในชุมชน สามารถอธิบายให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ ได้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่ท่องเที่ยว ด้านผลิตภัณฑ์หรืออาหารเด่นของชุมชน โดยมีการคิดค่าบริการจากนักท่องเที่ยวแตกต่างกันไปตามโปรแกรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและได้ลงมือปฏิบัติกับโปรแกรมนั้นๆ

ทั้งนี้ การส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ Decentralized Hand–ON Program Exhibition (D-HOPE) เป็นการใช้กระบวนการด้านการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนให้เกิดรายได้ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนเองให้มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๗ ฉบับที่ ๒๗๒๖ วันพุธที่ ๑๘ - วันอังคารที่ ๒๔ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕


697 1345