24thJanuary

24thJanuary

24thJanuary

 

February 23,2023

รฟท.แจงเหตุต้องทุบสถานีรถไฟโคราช อาคารประวัติศาสตร์รถไฟสายแรกของไทย

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ห้องประชุมนางสาวบุญเหลือ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ชั้น 2 นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รอง ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธานจัดการประชุมร่วมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดนครราชสีมา (อจร.นม.) ครั้งที่ 1/2566 ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (VCS : Webex Meetings) กับผู้แทนกรมทางหลวง กรมการขนส่งทางราง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีระเบียบวาระ การติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร–นครราชสีมา ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย โครงการรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระและช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี

 ผู้แทน รฟท. ได้ชี้แจงภาพรวมโครงการไฮสปีด สัญญาที่ 3-5 งานโยธา ช่วงสถานีโคกรวด-สถานีนครราชสีมา ขอบเขตงานโครงสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.52 กิโลเมตร คันทางระดับดิน 7.85 กม. ทางยกระดับ 4.853 กม. มีความคืบหน้าเพียง 3.40% เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ขอให้พิจารณาทบทวนรูปแบบคันดินเป็นตอม่อ ทำให้เกิดความล่าช้าสะสมทั้งไฮปรีด โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ปัจจุบันช้ากว่าแผนงาน 4 ปี ส่งผลกระทบกับเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างมาก หากไม่เร่งดำเนินการจะเป็นคอขวดในอนาคต เพื่อให้ทั้ง 2 โครงการสามารถก่อสร้างได้และอยู่ภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์เดิมของสัญญาไม่เกิดข้อขัดแย้งกับประชาชน แผนดำเนินงานขออนุมัติ ครม.เพิ่มเติม งบประมาณ 4,791.45 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 28 เดือน นับจาก รฟท.ลงนามบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาจ้างก่อสร้างภายในเดือนพฤษภาคม 2566 รูปแบบยกระดับตั้งแต่ช่วงผ่านบ้านเดื่อ ต.โคกกรวด อ.เมือง ถึงสถานีนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 8 กม. และจำเป็นต้องทุบทิ้งอาคารสถานีนครราชสีมา หลังเดิมที่มีอายุกว่า 68 ปี เนื่องจากตำแหน่งทับอาคารสถานีแห่งใหม่รองรับการขนส่งโดยสารรถไฟทางคู่รูปแบบยกระดับความสูง 10.5 เมตรและไฮสปีด 25 เมตร เพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ผู้มาใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย

ทั้งนี้ สถานีรถไฟนครราชสีมา หลังแรก เมื่อประมาณ 123 ปี ช่วงปลายปี ร.ศ.119 หรือ พ.ศ.2443 ในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนรถไฟพระที่นั่งจากสถานีกรุงเทพมหานครถึงสถานีโคราช (มณฑลนครราชสีมา) เป็นปฐมฤกษ์การเปิดเส้นทางรถไฟ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา สายแรกของประเทศไทย ต่อมาช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวอาคารถูกเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดได้รับความเสียหาย จึงก่อสร้างอาคารหลังใหม่ เปิดใช้งาน พ.ศ.2498 และในปีเดียวกันในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชีนี ประทับรถไฟพระที่นั่งมาลงที่สถานีรถไฟนครราชสีมา เพื่อทรงเยี่ยมพสกนิกร เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลอีสานนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวโคราช


733 1,515