27thJuly

27thJuly

27thJuly

 

December 25,2023

๙ เดือนแรก‘โคราช’ยังโดดเด่น บีโอไออนุมัติลงทุน ๑๐,๔๖๔ ล.

 

ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ ๒ (นครราชสีมา) หรือบีโอไอโคราช ภายใต้การบริหารของนายอิสระ อมรกิจบำรุง ผู้อำนวยการฯ ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๘ จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เปิดเผยภาพรวมการส่งเสริมการลงทุนใน ๙ เดือนแรกของปี ๒๕๖๖ (มกราคม - กันยายน ๒๕๖๖) โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ๖๒ โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๕๕ และมีมูลค่าเงินลงทุน ๑๙,๘๗๓.๘ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ ๓๖๒ และมีการจ้างงานไทย ๓,๙๕๔ คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๒๓๐

 

นายอิสระ อมรกิจบำรุง ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ ๒ (นครราชสีมา) หรือบีโอไอโคราช

โดยการลงทุนกระจุกตัวในจังหวัดนครราชสีมา มีจำนวน ๓๒ โครงการ ได้แก่ ๑. กิจการผลิตลูกสุกรและสุกรขุน ๒ โครงการ ๒. กิจการผลิตแป้งแปรรูป ๒ โครงการ กิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ๑ โครงการ ๓. การติดตั้ง E-SAVER ทำหน้าที่ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ของปั๊มน้ำในระบบทำความเย็นเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูป ๑ โครงการ ๔. การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในกิจการ ได้แก่กิจการผลิตสารให้ความหวาน ๑ โครงการ, กิจการข้าวคัดคุณภาพ ๒ โครงการ, กิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ๒ โครงการ กิจการผลิตสาคูและแป้งมันสำปะหลัง ๑ โครงการ, กิจการผลิตกากอบแห้งจากกากมันสำปะหลัง ๑ โครงการ, กิจการผลิตขนมขบเคี้ยว ๒ โครงการ, กิจการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ๑ โครงการ, กิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ๑ โครงการ 

๕. กิจการผลิตตัวเก็บประจุไฟฟ้าชั่วคราวที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ๑ โครงการ ๖. กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ๑ โครงการ ๗. กิจการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมืออุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ด้านมิติ ด้านมวล และเครื่องชั่ง ๑ โครงการ ๘. กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ ๑ โครงการ ๙. กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ๑๑ โครงการ

ในขณะที่จังหวัดบุรีรัมย์มี ๑๖ โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตลูกสุกร สุกรขุน ๕ โครงการ กิจการผลิตยางแท่ง ยางผสม ๓ โครงการ, กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมดิบ เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เป็นต้น ๒ โครงการ, กิจการผลิตโคพันธุ์ โคขุน และน้ำเชื้อโคบรรจุหลอดแช่แข็ง ๒ โครงการ, กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ๒ โครงการ, กิจการผลิตนมพร้อมดื่ม ๑ โครงการ และกิจการสถานพยาบาล ๑ โครงการ 

จังหวัดชัยภูมิ ๕ โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ๓ โครงการ โครงการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในกิจการผลิตเครื่องนุ่งห่ม เครื่องประกอบการแต่งกาย และ เคหะสิ่งทอ ๑ โครงการ และกิจการบำบัดหรือกำจัดของเสีย ๑ โครงการ

จังหวัดอุบลราชธานี ๔ โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ๒ โครงการ, กิจการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัด ๑ โครงการ และโครงการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในกิจการ ผลิตยางแท่ง ๑ โครงการ, จังหวัดสุรินทร์ ๓ โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง กิจการสถานพยาบาล กิจการผลิต พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์, จังหวัดศรีสะเกษ ๑ โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์, จังหวัดยโสธร ๑ โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
สำหรับเงินลงทุนในโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมในพื้นที่อีสานตอนล่าง ในเดือนมกราคม-กันยายน ๒๕๖๖ จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนเงินลงทุนมากที่สุด มูลค่าเงินลงทุน ๑๐,๔๖๔.๗ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๕๓ ของพื้นที่อีสานตอนล่าง และคิดเป็นร้อยละ ๓๙ ของพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด รองลงมา คือ จังหวัดบุรีรัมย์ เงินลงทุน ๖,๘๖๒.๒ ล้านบาท จังหวัดสุรินทร์ เงินลงทุน ๑,๓๔๓.๕ ล้านบาท จังหวัดยโสธร เงินลงทุน ๙๘๐ ล้านบาท จังหวัดชัยภูมิ เงินลงทุน ๑๖๑.๘ ล้านบาท จังหวัดอุบลราชธานี เงินลงทุน ๕๕.๔ ล้านบาท และจังหวัดศรีสะเกษ เงินลงทุน ๖.๒ ล้านบาท
โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเป็นโครงการใหม่ ๑๓ โครงการ อยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ๘ โครงการ จังหวัดนครราชสีมา ๔ โครงการ จังหวัดสุรินทร์ ๑ โครงการ และโครงการขยายกิจการ ๔๙ โครงการ อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ๒๗ โครงการ จังหวัดบุรีรัมย์ ๙ โครงการ จังหวัดชัยภูมิ ๕ โครงการ จังหวัดอุบลราชธานี ๔ โครงการ จังหวัดสุรินทร์ ๒ โครงการ จังหวัดยโสธร ๑ โครงการ และจังหวัดศรีสะเกษ ๑ โครงการ

สำหรับการกระจายสัดส่วนผู้ถือหุ้น เป็นโครงการคนไทยถือหุ้นทั้งสิ้น มีจำนวน ๔๙ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๗๙ ของจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน ๑๒,๕๘๓.๘ ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๖๓ ของเงินลงทุน ในพื้นที่อีสานตอนล่าง และเป็นโครงการต่างชาติถือหุ้นทั้งสิ้น ๖ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน ๕,๗๐๔ ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๒๙ ของเงินลงทุน ในพื้นที่อีสานตอนล่าง นอกจากนี้ ยังเป็นโครงการร่วมหุ้นไทยและต่างชาติ จำนวน ๗ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๑๑ ของจำนวนโครงการ ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน ๑,๕๘๖ ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๘ ของ เงินลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๙ ฉบับที่ ๒๗๖๐ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖- วันที่ ๑๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
 


44 1,372