November 21,2024
ซอฟต์พาวเวอร์จากประเพณีและเทศกาลของอีสานมีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับภาคอีสาน
ซอฟต์พาวเวอร์จากประเพณีและเทศกาลของอีสานมีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับภาคอีสาน อาทิ สงกรานต์ถนนข้าวเหนียว แห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ผีตาโขน บั้งไฟพญานาค และงานไหลเรือไฟ ให้คะแนนรัฐบาลในการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ 49.8 เต็ม 100
วันนี้ (21 พ.ย. 67) อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผยผลสำรวจเรื่อง “ซอฟต์พาวเวอร์จากประเพณีและเทศกาลของอีสาน” ผลสำรวจพบว่า คนอีสานเห็นว่าซอฟต์พาวเวอร์จากประเพณีและเทศกาล แหล่งท่องเที่ยว การแสดง/ดนตรีและหมอลำ มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับภาคอีสานมากกว่าซอฟต์พาวเวอร์ด้านอื่นๆ ควรถอดบทเรียนความสำเร็จจากประเทศเกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น ให้คะแนนความพึงพอใจกับความคืบหน้าของรัฐบาลในการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของไทยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 49.8 เต็ม 100 ประเพณีและเทศกาลของอีสานที่มีศักยภาพทำให้ดังระดับโลกได้ 5 อันดับแรก คือ งานสงกรานต์ถนนข้าวเหนียวที่ขอนแก่น งานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ผีตาโขนจังหวัดเลย งานบั้งไฟพญานาคจังหวัดหนองคาย และงานไหลเรือไฟจังหวัดนครพนม
ภาคอีสานควรเน้นสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์หรือวัฒนธรรมอีสานเรื่องใดมากที่สุด เพื่อสร้างรายได้ให้กับภาคอีสาน
รศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่าการสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อประเพณีและเทศกาลของอีสานซึ่งเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่โดดเด่นของภาคอีสาน ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16 - 18 พฤศจิกายน 2567 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,162 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด
เมื่อสอบถามว่า ภาคอีสานควรเน้นสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์หรือวัฒนธรรมอีสานเรื่องใดมากที่สุด เพื่อสร้างรายได้ให้กับภาคอีสาน พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 32.3 ระบุว่าเป็นประเพณีและเทศกาล รองลงมา ร้อยละ 21.3 แหล่งท่องเที่ยว อันดับ 3 ร้อยละ 19.6 การแสดง/ดนตรีและหมอลำ ตามมาด้วย ร้อยละ 9.0 สินค้าจากท้องถิ่น ร้อยละ 8.6 อาหาร ร้อยละ 3.1 ละครและภาพยนตร์ ร้อยละ 2.9 แฟชั่นและการแต่งกาย ร้อยละ 2.7 ทัศนศิลป์และสถาปัตยกรรรม และอื่นๆ ร้อยละ 0.3
เมื่อสอบถามว่า ประเทศใดในเอเชียที่ทำเรื่องซอฟท์พาวเวอร์ได้ดี และไทยควรถอดบทเรียนมาประยุกต์ใช้ พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 28.5 ตอบเกาหลีใต้ รองลงมา ร้อยละ 24.0 ตอบจีน อันดับ 3 ร้อยละ 23.3 ตอบญี่ปุ่น ตามมาด้วย ร้อยละ 6.8 ตอบสิงคโปร์ ร้อยละ 4.9 ตอบอินเดีย ร้อยละ 3.9 ตอบไต้หวัน ร้อยละ 3.3 ตอบมาเลเซีย และร้อยละ 5.3 ตอบอื่นๆ
เมื่อสอบถามว่า ท่านพึงพอใจระดับใดกับความคืบหน้าของรัฐบาลในการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของไทยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พบว่า มีร้อยละ 4.5 ตอบน้อยที่สุด ร้อยละ 23.0 ตอบน้อย ร้อยละ 48.5 ตอบปานกลาง ร้อยละ 16.9 ตอบมาก และร้อยละ 7.2 ตอบมากที่สุด โดยรวมคือได้คะแนน 49.8 จาก 100
เมื่อสอบถามว่า ประเพณีและเทศกาลของอีสานใดบ้างที่ท่านคิดว่ามีศักยภาพทำให้ดังระดับโลกได้ (จาก 16 ตัวเลือก) พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 13.0 งานสงกรานต์ถนนข้าวเหนียวที่ขอนแก่น, อันดับ 2 ร้อยละ 12.8 งานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี, อันดับ 3 ร้อยละ 12.6 งานผีตาโขนจังหวัดเลย, อันดับ 4 ร้อยละ 9.8 งานบั้งไฟพญานาคจังหวัดหนองคาย, อันดับ 5 ร้อยละ 8.9 งานไหลเรือไฟจังหวัดนครพนม, อันดับ 6 ร้อยละ 8.8 งานขึ้นเขาพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์, อันดับ 7 ร้อยละ 8.6 งานบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร, อันดับ 8 ร้อยละ 8.2 งานลอยกระทง มหาวิทยาลัยขอนแก่นหรือสีฐานเฟสติวัล, อันดับ 9 ร้อยละ 7.1 แห่ปราสาทผึ้ง จังหวัดสกลนคร, อันดับ 10 ร้อยละ 7.0 งานมหกรรมโปงลางแพรวาจังหวัดกาฬสินธุ์, อันดับ 11 งานนมัสการพระธาตุพนม, อันดับ 12 งานไหมนานาชาติและประเพณีผูกเสี่ยว, อันดับ 13 งานบุญผะเหวด, อันดับ 14 งานเที่ยวพิมาย, อันดับ 15 งานโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิด และอันดับ 16 งานเบิกน่านน้ำและตีช้างน้ำนอง
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 4% ประกอบด้วยเพศหญิง ร้อยละ 49.3 เพศชายร้อยละ 48.0 และอื่นๆ ร้อยละ 2.7
อายุ 18-24 ปี ร้อยละ 9.0 อายุ 25-30 ปี ร้อยละ 13.8 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 22.1 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 22.0 อายุ 51- 60 ปี ร้อยละ 16.0 และอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.2
การศึกษา ประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 12.4 มัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 19.5 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ระดับปวช. ร้อยละ 26.9 ระดับอนุปริญญา/ปวส./สูงกว่า ม.ปลาย ร้อยละ 14.9 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 23.3 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 3.0
ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 45.1 รองลงมารับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.1 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.1 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 7.7 งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.7 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 7.2 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 4.1 และ อื่นๆ ร้อยละ 1.0
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 6.1 รายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 22.9 รายได้อยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 18.4 รายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 23.9 รายได้ระหว่าง 20,001-40,000 ร้อยละ 24.7 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไปร้อยละ 3.9
9 513