23rdJanuary

23rdJanuary

23rdJanuary

 

April 09,2022

ตำลึงทอง

“พืช” มีหลายชนิดทั้งประเภทพืชผักที่ใช้เป็นอาหาร เป็นสมุนไพร และใช้สอยประโยชน์ต่างๆ บางชนิด นักพฤกษศาสตร์พบมากที่จังหวัดนครราชสีมา และตั้งชื่อตามภาษาถิ่นโคราช ซึ่งเรียกชื่อ แตกต่างไปจากภาษากรุงเทพและภาษาถิ่นภาคอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะทราบถึงคุณประโยชน์แล้ว ยังจะได้ทราบคำภาษาถิ่นโคราชอีกด้วย 

________________________________________________

ตำลึงทอง

ตำลึงทอง เป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง ชนิด Passiflora foetida ในวงศ์ PASSIFLORACEAE มีอายุประมาณ ๒-๕ ปี ลำต้นมีขนมีกลิ่นเหม็นเขียว เถาค่อนคดงอไปมา มีมือใช้ยึดเกาะ มีหนามเล็กๆ ขึ้นอยู่ห่างๆ ใบเป็นใบเดี่ยวปลายใบแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเว้าเป็น ๓ แฉกคล้ายใบตำลึง ออกเรียงสลับ ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบกลีบดอกมีประมาณ ๑๐ กลีบ กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ส่วนกลีบด้านในสีขาว มีกระบังรอบเป็นเส้นฝอย โคนดอกสีม่วง ผลค่อนข้างกลมขนาดปลายนิ้วมือ และห่อหุ้มด้วยเส้นใยคล้าย “รก” ผลกลมสีเขียว เมื่อสุกจะสีเหลืองอมสีส้ม ภายในผลมีเมล็ดฉ่ำน้ำคล้ายเมล็ดแมงลักแช่น้ำ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ต้นต้มสุกเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้บวม หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกและใช้   แกงเลียง ใบใช้ตำพอกแผลฆ่าเชื้อ ทาแก้โรคผิวหนัง คั้นเอาน้ำดื่มขับพยาธิ รากใช้ต้มน้ำร้อนดื่มแก้เบาหวาน แก้ไข
นักพฤกษศาสตร์ เรียก ตำลึงทอง ว่า กะทกรก

ข้อมูล : สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สืบค้นจาก กะทกรก  http://www.fca16mr. com/webblog/blog.php?id=1627.

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๗ ฉบับที่ ๒๗๒๒ วันพุธที่ ๖ - วันอังคารที่ ๑๙ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕


817 4,385