2ndFebruary

2ndFebruary

2ndFebruary

 

August 06,2022

นางอั่วโคก

“พืช” มีหลายชนิดทั้งประเภทพืชผักที่ใช้เป็นอาหาร เป็นสมุนไพร และใช้สอยประโยชน์ต่างๆ บางชนิด นักพฤกษศาสตร์พบมากที่จังหวัดนครราชสีมา และตั้งชื่อตามภาษาถิ่นโคราช ซึ่งเรียกชื่อ แตกต่างไปจากภาษากรุงเทพและภาษาถิ่นภาคอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะทราบถึงคุณประโยชน์แล้ว ยังจะได้ทราบคำภาษาถิ่นโคราชอีกด้วย 

___________________________

นางอั่วโคก

นางอั่วโคก เป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ชนิด Leonotis nepetifolia (L.) R. Br. (ชื่อพ้อง Leonotis kwebensis N.E.Br., Leonotis ovata Bojer, Leonurus nepetifolius (L.) Mill., Phlomis nepetifolia L., Stachys mediterranea Vell.) ในวงศ์ Lamiaceae เป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียวตามป่าละเมาะ ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยมตั้งตรง สูง ๑-๒.๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้า ขอบใบหยักมนแกมฟันเลื่อย ออกเรียงตรงข้าม ดอกเป็นช่อแบบผสมรูปทรงกลม ออกเป็นกระจุกตามข้อ รอบลำต้นเป็นชั้นๆ เหมือนฉัตร ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีส้มสด ผลรูปไข่สีดำหม่น แห้งมี ๔ ผลย่อย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ต้นมีรสขม เป็นยาแก้ไข้ป่า ขับประจำเดือน เป็นยาระบาย ใบมีรสขมเป็นยาแก้ไข้ แก้โรคปวดบวมตามข้อ ตำพอกแก้แผลอักเสบ ดอกมีรสขมเย็น เผาแล้วใช้ขี้เถ้าทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลพุพอง ผิวหนังอักเสบ เมล็ดมีรสขมบำบัดไข้จับสั่น รากต้มเป็นยาขับระดู ลดไข้ ยาระบาย
นักพฤกษศาสตร์เรียก นางอั่วโคก ว่า ฉัตรพระอินทร์ หญ้าเหลี่ยม 

ข้อมูล : Phargarden.com สืบค้นจาก ฉัตรพระอินทร์ http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=167.

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๘ ฉบับที่ ๒๗๓๘ วันพุธที่ ๓ - วันอังคารที่ ๙ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕


716 1,499