September 22,2022
บุนนาค
“พืช” มีหลายชนิดทั้งประเภทพืชผักที่ใช้เป็นอาหาร เป็นสมุนไพร และใช้สอยประโยชน์ต่างๆ บางชนิด นักพฤกษศาสตร์พบมากที่จังหวัดนครราชสีมา และตั้งชื่อตามภาษาถิ่นโคราช ซึ่งเรียกชื่อ แตกต่างไปจากภาษากรุงเทพและภาษาถิ่นภาคอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะทราบถึงคุณประโยชน์แล้ว ยังจะได้ทราบคำภาษาถิ่นโคราชอีกด้วย
________________________________________
บุนนาค
บุนนาค เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ชนิด Schima wallichii (DC.) Korth ในวงศ์ Theaceae ขึ้นในป่าดิบ ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่ม สูงประมาณ ๓-๕ เมตร เปลือกนอกแตกเป็นเกล็ดในสีเทาหรือชมพูแกมแดง เปลือกชั้นในถาถูกจะระคายผิวหนังหากมีอากากรแพ้จะเป็นผื่นคัน ใบเป็นใบเดี่ยวเป็นรูปหอกปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียวแหลม ระคายผิวเป็นผื่นคัน ใบเดี่ยวรูปหอก ดอกสีขาวมีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อหรือกลุ่มๆ ละ ๒-๓ ดอก ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ผลค่อนข้างกลมแป้นมีขน ขยายพันธุ์โดยเมล็ดเพาะหรือตอนกิ่ง
มีสรรพคุณใช้เบื่อปลา รับประทานแก้คลื่นเหียน ตำหยอดหู แก้ปวดหู แต่ส่วนเปลือกและผล มีรสเมาเบื่อ บดเป็นผงแต่งกลิ่นธูปหอม ดอกมีรสเมาเบื่อเช่นกัน นำไปตากแห้งแล้วแช่น้ำหรือชงกับน้ำร้อนแก้ลมชักและลมบ้าหมู
นักพฤกษศาสตร์เรียก บุนนาค ว่า จำปาดง มังตาน
ในจังหวัดนครราชสีมา มีต้นบุนนาคมากในแถบตำบลหนองตะไก้ เมื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอและอำเภอใช้ชื่อว่า “หนองบุนนาก” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอหนองบุญมาก”
ข้อมูล : อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ โดย มหาวิทยาลัยมหิดล สืบค้นจาก จำปาดง มังตาน https://pharmacy.mahidol.ac.th/siri/ index.php? page=search_detail&medicinal_id=342,
http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=มังตาน, มังตาน https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_127376.
นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๘ ฉบับที่ ๒๗๔๒ วันพุธที่ ๓๑ เดือนสิงหาคม - วันอังคารที่ ๖ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
699 1,466