December 30,2022
บีโอไอสรุปภาพรวมลงทุนอีสาน 9 ด. โคราชแชมป์ลงทุน 2,512 ล้านบาท
เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 2 (นครราชสีมา) หรือบีโอไอโคราช สรุปภาพรวมการส่งเสริมการลงทุนใน 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม - กันยายน 2565) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในพื้นที่รับผิดชอบ 8 จังหวัด (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี) มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 40 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 38 และมีมูลค่าเงินลงทุน 4,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32
สำหรับที่ตั้งโครงการกระจุกตัวในจังหวัดนครราชสีมา คือ 26 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 65 ของพื้นที่อีสานตอนล่าง และคิดเป็นร้อยละ 36 ของพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด รองลงมา คือ ชัยภูมิ 6 โครงการ, อุบลราชธานี 5 โครงการ, บุรีรัมย์ 2 โครงการ และศรีสะเกษ 1 โครงการ
ในขณะที่เงินลงทุนนั้น จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนเงินลงทุนมากที่สุด มูลค่า 2,512 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58 ของพื้นที่อีสานตอนล่างและคิดเป็นร้อยละ 22 ของพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด รองลงมา คือ บุรีรัมย์ เงินลงทุน 854 ล้านบาท, อุบลราชธานี เงินลงทุน 727 ล้านบาท, ชัยภูมิ เงินลงทุน 205 ล้านบาท และศรีสะเกษ เงินลงทุน 2 ล้านบาท
ส่วนสัดส่วนผู้ถือหุ้น เป็นโครงการที่คนไทยถือหุ้นทั้งสิ้น 30 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 75 ของจำนวนโครงการที่ได้รับ อนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน 3,983 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93 ของเงินลงทุน ในพื้นที่อีสานตอนล่าง ส่วนโครงการต่างชาติถือหุ้นทั้งสิ้น มี 7 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 18 ของจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน 191 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4 ของเงินลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และโครงการร่วมลงทุนไทยและต่างชาติ มี 3 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 8 ของจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน 126 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของเงินลงทุน ในพื้นที่อีสานตอนล่าง
สำหรับโครงการที่อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน โดยแบ่งอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมดังนี้
• กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร เป็นกิจการผลิตแป้งมันสาปะหลังและแป้งแปรรูป เช่น แป้งแพนเค้ก แป้งบราวนี่ แป้งคุ้กกี้ และแป้งชุบทอด เป็นต้น จำนวน 1 โครงการ และกิจการผลิตแป้งแปรรูปที่ละลายได้ในน้ำเย็นเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 1 โครงการ, กิจการเนื้อไก่ชำแหละ จำนวน 1 โครงการ, กิจการผลิตกากราและน้ำมันรำข้าวดิบ จำนวน 1 โครงการ, กิจการผลิตสารออกฤทธิ์จากวัตถุดิบทางธรรมชาติ เพื่อทำการผลิตพรีไบโอติกส์ จำนวน 1 โครงการ กิจการผลิตยางแท่งและหรือยางผสม จำนวน 1 โครงการ
• กลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพ เป็นกิจการผลิตแอลกอฮอล์จากผลผลิตทางการเกษตรและเอทานอล จำนวน 1 โครงการ และกิจการผลิตก๊าซชีวภาพ จำนวน 1 โครงการ
• กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เป็นกิจการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม ผลิตอาหาร จำนวน 1 โครงการ เป็นกิจการผลิตเครื่องจักรอัตโนมัติมีขั้นตอนออกแบบระบบควบคุมการปฎิบัติงานด้วยสมองกลเอง จำนวน 1 โครงการ
• กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นกิจการผลิตชิ้นส่วนระบบช่วงล่างยานพาหนะ จำนวน 1 โครงการ, กิจการผลิตชิ้นส่วนระบบช่วงล่าง (SUSPENSION SYSTEM PARTS) ได้แก่ SHOCK ABSORBER จำนวน 1 โครงการ, กิจการผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า จำนวน 1 โครงการ
• กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน สาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม เป็นกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงาน แสงอาทิตย์ทั้งหมด จำนวน 21 โครงการ กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าและไอน้า จำนวน 2 โครงการ
• กลุ่มอุตสาหกรรมแร่ โลหะ และวัสดุ เป็นกิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ เช่น เหล็ก โครงสร้างรูปพรรณ ตะแกรงเหล็ก จำนวน 1 โครงการ และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ รวมทั้ง ชิ้นส่วนโลหะ เช่น HOUSING TORQUE SENSOR HOUSING WORM GEAR จำนวน 1 โครงการ
• กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล เป็นกิจการพัฒนา Enterprise Software จำนวน 1 โครงการ
• กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจการผลิตเสื้อผ้าสาเร็จรูป จำนวน 1 โครงการ
ในขณะที่โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการพิเศษ แยกเป็น
◼ มาตรการส่งเสริมการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพ ในเดือนมกราคม - กันยายน 2565 มีโครงการที่อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน จำนวน 5 โครงการ เงินลงทุน 84 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อใช้พลังงานทดแทน จำนวน 3 โครงการ อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคาโรงงานโดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ สำหรับพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะนาไปใช้เป็นพลังงานทดแทนในโครงการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ โครงการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร (FOOD PROCESSING MACHINERY) โครงการผลิตน้ามันราข้าวดิบ ส่วนผสมอาหารสัตว์ เช่น กากรา และมีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพจำนวน 2 โครงการ เงินลงทุน 35 ล้านบาท อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพสำหรับชิ้นส่วนระบบช่วงล่างยานพาหนะ ได้แก่ STRUT และโครงการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในขั้นตอนการเชื่อมหูโช๊ค และขั้นตอนการอัด BUSH และสลักเกลียวโดยการกดอัด
◼ มาตรการส่งเสริม SMEs ในเดือนมกราคม - กันยายน 2565 มีโครงการที่อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน จำนวน 3 โครงการ เงินลงทุน 212 ล้านบาท อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา 2 โครงการ เป็นกิจการผลิตก๊าซชีวภาพ (BIOGAS) กิจการผลิตสารออกฤทธิ์จากวัตถุดิบทางธรรมชาติเพื่อทำการผลิตพรีไบโอติกส์ อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี 1 โครงการ เป็นกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ส่วนโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย มีการลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ ซึ่งจะได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคของรัฐบาล โดยในพื้นที่อีสานตอนล่างมีโครงการที่อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน จำนวน 14 โครงการ เงินลงทุน 1,788 ล้านบาท โดยแยกเป็นจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 6 โครงการ เป็นกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 4 โครงการ กิจการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำและกิจการผลิตเอทานอล กิจการละ 1 โครงการ, จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 โครงการ เป็นกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการ เป็นกิจการผลิตแป้งสาเร็จรูปจากแป้งมันสำปะหลัง ไชยาไนด์ต่ำ 1 โครงการ และเป็นกิจการผลิตเสื้อผ้าสาเร็จรูป 1 โครงการ, จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 โครงการ เป็นกิจการผลิตยางแท่งหรือยางผสม และกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์, จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 1 โครงการ เป็นกิจการ พัฒนา Enterprise Software
• ภาคอีสานตอนบน 12 จังหวัด
ทางด้านศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 (บีโอไอขอนแก่น) เปิดเผยภาวะการส่งเสริมการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 12 จังหวัด ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม - กันยายน 2565) ในพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองคาย บึงกาฬ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองบัวลำภู เลย นครพนม มหาสารคาม มีการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงุทน 31 โครงการมีมูลค่าเงินลงทุน 6,869 ล้านบาท การจ้างงาน 866 คน
โดยการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 มีการร่วมทุนไทยและต่างชาติ จำนวน 11 โครงการ เงินลงทุนรวม 3,835.40 ล้านบาท ซึ่งเป็นการร่วมทุนจากประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง โดยเป็นผู้ถือหุ้นไทยทั้งสิ้น 60% เงินลงทุน 1,874.51 ล้านบาท
ทั้งนี้ แยกเป็นอุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์ มีจำนวน 10 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 6,213.5 ล้านบาท การจ้างงาน 840 คน สำหรับอุตสาหกรรมพื้นฐำนและอุตสาหกรรมสนับสนุน มีจำนวน 20 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 646.6 ล้านบาท การจ้างงาน 26 คน และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง จำนวน 1 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 8.7 ล้านบาท การจ้างงานร่วมกับโครงการเดิม เป็นโครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 56% เงินลงทุน 3,835.4 ล้านบาท และเป็นผู้ถือหุ้นไทยทั้งสิ้น 44% เงินลงทุน 3,033.34 ล้านบาท
สำหรับรายละเอียดโครงการแต่ละจังหวัด แยกเป็น
• จังหวัดขอนแก่น จำนวน 7 โครงการ เงินลงทุน 141.4 ล้านบาท การจ้างงานไทย 35 คน ได้แก่ กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา จำนวน 4 โครงการ กิจการผลิตเชื้อเพลิงจำกวัสดุชีวมวล (Biomass Fuel) Biomass Fuel) Biomass Fuel) Biomass Fuel) Biomass Fuel) Biomass Fuel) เช่น กะลามะพร้าวอัดแท่ง กิจการผลิตไฟฟ้าจากก๊ซชีวภาพ และ กิจการผลิต Ejector Pin Ejector Pin Ejector Pin Ejector Pin
• จังหวัดอุดรธานี จำนวน 4 โครงการ เงินลงทุน 271.2 271.2 ล้านบาท การจ้างงานไทย 285 คน ได้แก่ กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา จำนวน 2 โครงการ, กิจการผลิตยางแท่ง/ผลพลอยได้ ได้แก่ เศษหรือของเสียจากกระบวนการผลิต และกิจการผลิตยางแผ่นรมควัน
• จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 2 โครงการ เงินลงทุน 1,574.9 ,574.9 ล้านบาท การจ้างงานไทย 146 คนได้แก่ กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา และกิจการผลิตยางแท่งและหรือยางผสม/ผลพลอยได้ ได้แก่ เศษหรือของเสียจากกระบวนการผลิต
• จังหวัดหนองคาย จำนวน 3 โครงการ เงินลงทุน 37.2 ล้านบาท การจ้างงานไทย 3 คน ได้แก่กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงำนแสงอำทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ทั้ง 3โครงการ
• จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 3 โครงการ เงินลงทุน 260 ล้านบาท การจ้างงานไทย 1 คน ได้แก่ กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงำนแสงอำทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา จำนวน 2โครงการ กิจการผลิตยางแท่งและยางผสม/ผลพลอยได้ ได้แก่ เศษหรือของเสียจากกระบวนการผลิต
• จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 4 โครงการ เงินลงทุน 1,781.2 ล้านบาท การจ้างงานไทย 147 คน คือ กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงำนแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา จำนวน 2 โครงการ กิจการผลิตยางแท่งและหรือยางผสม/ผลพลอยได้ ได้แก่ เศษหรือของเสียจากกระบวนการผลิต และกิจการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
• จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 1 โครงการ เงินลงทุน 4.7 ล้านบาท การจ้างงานร่วมกับโครงการเดิม คือ กิจการผลิตชำแหละไก่/ปลาแช่แข็ง
• จังหวัดสกลนคร จำนวน 1 โครงการ เงินลงทุน 653.2 ล้านบาท การจ้างงานไทย 80 คน คือ กิจการโรงพยาบาล
• จังหวัดเลย จำนวน 2 โครงการ เงินลงทุน 1,783.5 ล้านบาท การจ้างงานไทย 146 คน คือ กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา และกิจการผลิตยางแท่งและหรือยางผสม/ผลพลอยได้ ได้แก่ เศษหรือของเสียจากกระบวนการผลิต
• จังหวัดนครพนม จำนวน 3 โครงการ เงินลงทุน 81.5 ล้านบาท การจ้างงานร่วมกับโครงการเดิม คือ กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ทั้ง 3 โครงการ
• จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 โครงการ เงินลงทุน 280 ล้านบาท การจ้างงานไทย 23 คน คือ กิจการผลิตลูกสุกร
104 1,694