6thDecember

6thDecember

6thDecember

 

October 11,2024

บีโอไอส่งเสริมลงทุนครึ่งปี’๖๗ ‘โคราช’ยังนำโด่ง ๖,๖๔๐ ล.

“บีโอไอโคราช” สรุปภาวะการส่งเสริมลงทุนครึ่งปีแรก ๘ จังหวัดภาคอีสานตอนล่างรวม ๔๔ โครงการ กระจุกตัวในพื้นที่โคราช ๒๙ โครงการ มูลค่า ๖,๖๔๐ ล้านบาท ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล และแปรรูปอาหาร

 

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ ๒ (นครราชสีมา) หรือบีโอไอโคราช รายงานภาวะการส่งเสริมการลงทุนครึ่งปีแรก ๒๕๖๗ (มกราคม - มิถุนายน ๒๕๖๗) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในพื้นที่รับผิดชอบ ๘ จังหวัด (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ อานาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี)  

โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมในพื้นที่ ๘ จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรืออีสานตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของบีโอไอโคราช จำนวน ๔๔ โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๑๖ และมีมูลค่าเงินลงทุน ๘,๙๗๖ ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ ๔๐ ซึ่งโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๒๙ โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๘๑ และมีมูลค่าเงินลงทุน ๖,๖๔๑ ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๒๐ ลดลง เนื่องจากในปี ๒๕๖๖ มีโครงการที่ได้รับอนุมัติเป็นกิจการผลิตตัวเก็บประจุไฟฟ้าชั่วคราวที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงกว่า ๕,๓๘๑ ล้านบาท เป็นผลทำให้ตัวเลขเงินลงทุนในปีนี้ ลดลงกว่าปีที่แล้ว

ทั้งนี้ ใน ๘ จังหวัดอีสานล่างมีทั้งหมด ๓๘ โครงการ ดังนี้ นครราชสีมา ๒๙ โครงการ มูลค่าเงินลงทุน ๖,๖๔๐.๕๑ ล้านบาท เกิดการจ้างงาน ๑,๕๓๑ คน, ชัยภูมิ ๓ โครงการ มูลค่าเงินลงทุน ๗๙.๗๖ ล้านบาท เกิดการจ้างงาน ๔๕ คน, บุรีรัมย์ ๓ โครงการ มูลค่าเงินลงทุน ๑๘๖.๐๖ ล้านบาท เกิดการจ้างงาน ๑๕ คน, สุรินทร์ ๒ โครงการ มูลค่าเงินลงทุน ๒๔๖.๕๐ ล้านบาท เกิดการจ้างงาน ๘๐ คน, ศรีสะเกษ ๒ โครงการ มูลค่าเงินลงทุน ๒๔๑ ล้านบาท เกิดการจ้างงาน ๓ คน, อำนาจเจริญ ๒ โครงการ มูลค่าเงินลงทุน ๙๙๗.๑๑ ล้านบาท เกิดการจ้างงาน ๕๖ คน, ยโสธร ๑ โครงการ มูลค่าเงินลงทุน ๑๘๗ ล้านบาท เกิดการจ้างงาน ๒๑ คน และอุบลราชธานี

การลงทุนกระจุกตัวในจังหวัดนครราชสีมา ๒๙ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๖๖ ของพื้นที่อีสานตอนล่าง และคิดเป็นร้อยละ ๔๑ ของพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด ได้แก่ ๑. กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน ๙ โครงการ ๒. กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล จำนวน ๑ โครงการ ๓. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เช่น ข้าวตัง และหมูแผ่น เป็นต้น จำนวน ๑ โครงการ

๔. กิจการผลิตยางปัดน้ำฝนสำหรับยานพาหนะ (Wiper Blade Rubber) จำนวน ๑ โครงการ ๕. กิจการผลิตชิ้นส่วนยางสำหรับยานพาหนะ เช่น Pin Boot Piston Boot Piston Seal และ Coupling จำนวน ๑ โครงการ ๖. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โรยอาหาร (Topping) จำนวน ๑ โครงการ ๗. กิจการบริการทดสอบและตรวจสอบวิเคราะห์ต้นกำเนิด (Stem Cell) และเก็บรักษา จำนวน ๑ โครงการ ๘. กิจการออกแบบทางวิศวกรรม จำนวน ๑ โครงการ ๙. กิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์สันดาปภายใน Camshaft และ Camshaft Assy จำนวน ๑ โครงการ ๑๐.กิจการผลิตระบบเบรก ABS สำหรับยานพาหนะ จำนวน ๑ โครงการ ๑๑.กิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะ เช่น Housing และ Cylinder Block จำนวน ๑ โครงการ ๑๒.กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ Printed Circuit Board Assembly (PCBA) หรือผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากการผลิต PCBA ในโครงการเดียวกัน อุปกรณ์โทรคมนาคม จำนวน ๑ โครงการ ๑๓. กิจการตามมาตรการกระตุ้นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และกิจการผลิต Gear สำหรับเครื่องยนต์และระบบส่งกำลัง จำนวน ๑ โครงการ ๑๔. กิจการตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนสาหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) คือ กิจการผลิตหมูหยอง กุนเชียงหมู จำนวน ๑ โครงการ และกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน ๑ โครงการ ๑๕. กิจการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานทดแทน, กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว เช่น ข้าวตัง ขนมขบเคี้ยวจากธัญพืช และหนังปลาทอดกรอบ ปรุงรส จำนวน ๑ โครงการ, กิจการผลิตชิ้นส่วนแมกนีเซียมสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวน ๑ โครงการ

๑๖. กิจการตามมาตรการปรับปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, กิจการผลิตแป้งแปรรูป (ปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ การบริหารจัดการข้อมูลในระบบให้มีการ เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร ได้แก่ การจัดซื้อจัดหา การเงินและการบัญชี การขาย และการตลาด การบริหารสินค้าคงคลัง การวางแผน และการผลิตและต้นทุนการผลิต เป็นต้น) จำนวน ๑ โครงการ ๑๗.กิจการตามมาตรการปรับปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรโดยใช้ระบบอัตโนมัติ, กิจการผลิตภัณฑ์น้ำนมดิบ เช่น นมพร้อมดื่มยูเอชที และนมปรุงแต่งยูเอชที (ในขั้นตอนการฆ่าเชื้อโดยวิธีพลาสเจอร์ไรซ์ การผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน การกรองและฆ่าเชื้อ ระบบยูเอชที การบรรจุและติดฉลากผลิตภัณฑ์ จำนวน ๑ โครงการ, กิจการผลิตน้ำมันรำข้าวบริสุทธิ์ (ในขั้นตอนการแยกยาง Degumming) จำนวน ๑ โครงการ และกิจการผลิตแป้งแปรรูป (ในขั้นตอนการผสมสารเคมี การอบ และการบรรจุ) จำนวน ๑ โครงการ

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๕๐ ฉบับที่ ๒๗๖๙ ประจำวันที่ ๑๕ เดือนกันยายน - ๑๔ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗

 


296 3,149